บ้านกระท่อมเมทัลชีท น่ารักปนสดชื่นน่าอยู่
บ้านกระท่อมเมทัลชีท บ้านกระท่อมเมทัลชีท เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีทคือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้
จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี
บ้านกระท่อม ในโลกของงานสถาปัตยกรรม มีสิ่งน่าสนุกแปลกใหม่ ให้ทดลองมากมาย ไม่จำเป็นว่าบ้าน จะต้องวางติดกับ พื้นทุกส่วน ไม่จำเป็นว่าส่วน ประกอบของบ้าน ต้องมีหลังคา ผนัง ประตูหน้าต่าง ที่ได้ระนาบแนวตั้ง และแนวนอนเหมือนอย่าง ที่เราคุ้นเคยในบ้าน
แบบพิมพ์นิยม บางครั้งหากเราลองจับบ้านมาวางใน ทิศทางที่ต่างไป ก็อาจจะเจอมุมมองใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ ชีวิตได้อีกหลายรูปแบบ เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ ที่ยกตัวขึ้นเฉียงเอียงได้ อย่างน่าหวาดเสียว ดูต้านแรงโน้มถ่วง ของโลกได้อย่างน่าตื่นตา

ไอเดียกระท่อมวัสดุเมทัลชีทสีแดงกลางธรรมชาติ
บางครั้งหลังจากผ่านความรู้สึกล้าหรือหมดแรง การได้เร้นหลีกตัวเองออกจากเมืองใหญ่ ไปใช้ชีวิตสงบ ๆ ในกระท่อมเล็ก ๆ ก็กลับสร้างพลังงานในจิตวิญญาณให้พร้อมที่จะเผชิญกับความยากในชีวิตได้อีกครั้ง ในหมู่บ้านเล็กๆของ Arthur’s Pass เหนือแนวรอยเลื่อนบนเทือกเขาแอลป์ ประเทศนิวซีแลนด์ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีบรรยากาศในแบบที่ว่า
ที่นี่ประชากรถาวรอยู่อาศัยประมาณ 50 หลังคาเรือน (รวมบ้านพักตากอากาศและบ้านท้องถิ่นที่อยู่ถาวรแล้ว) ท่ามกลางสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีระดับความสูงอยู่ที่ 739 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีกระท่อมหลังหนึ่งที่ซ่อนตัวอย่างโดดเด่นอยู่กลางทิวเขา
บริเวณที่ตั้งของบ้านนี้อยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขึ้นชื่อเรื่องทัศนียภาพที่เหมาะกับการเดินเล่นและเล่นสกีในฤดูหนาวใช้เวลาขับรถประมาณ 2 ชั่วโมงจากไครสต์เชิร์ชมาถึงที่นี่ เมื่อได้ย่างก้าวเข้ามาแล้วจะเหมือนก้าวเข้าสู่อีกโลกหนึ่งที่เต็มไปด้วยธรรมชาติมีความเรียบง่าย มีพื้นที่ตั้งแคมป์ ร้านอาหารไม่กี่แห่ง ชุมชนมีความแน่นแฟ้นและสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย
บ้านพักเล็ก ๆ สองหลังติดกันนี้ เดิมมีขนาด 45 ตร.ม. เป็นบ้านสำหรับครอบครัวที่สร้างขึ้นในปี 1950 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากวัสดุรีไซเคิล และด้วยสภาพแวดล้อมของเทือกเขาแอลป์ที่รุนแรงบวกกับกาลเวลาหลายสิบปีทำให้ต้องซ่อมแซม เจ้าของใช้โอกาสนี้ มอบหมายให้ Jane Peddie ปรับปรุงสภาพบ้านให้ดูดี เพิ่มห้องนอน อัพเกรดห้องน้ำ และป้องกันและหุ้มอาคารเดิมให้แข็งแรงขึ้น ส่วนต่อเติมขนาด 15 ตร.ม. เชื่อมต่อได้ง่ายกับรูปแบบหน้าจั่วดั้งเดิม

บ้านในชุมชนดั้งเดิมจะมีลักษณะเป็นกระท่อมไม้สีแดงเลือดนกผสมกับงานไม้
สถาปนิกจึงตัดสินใจที่จะรักษาชุดสีเหล่านี้ไว้ แต่เลือกวัสดุที่ต่างออกไปโดยใช้ Coloursteel หรือเมทัลชีทลอนสีแดงสดและหลังคาสีดำเข้ม เป็นสีที่สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของแบบพื้นถิ่นอย่างเหนียวแน่น ช่วยเสริมความรู้สึกกลมกลืนกับกระท่อมบนเทือกเขาแอลป์ที่อยู่ใกล้เคียง
ในขณะที่มีคุณสมบัติตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงของ Arthur’s Pass และยังคงความรู้สึกอบอุ่นชวนพักพิงใจของ Kiwi bach เอาไว้ได้อย่างดี สีแดงของฝาผนังยังตัดกับสีเขียวสดใสของต้นไม้ในอุทยานแห่งชาติและภูเขา ที่ปกคลุมด้วยหิมะที่อยู่ไกลออกไป
ห้องครัวที่ปรับปรุงใหม่ใส่ของตกแต่งจากยุคนี้ แต่ยังคงเสน่ห์ของมรดกจากรุ่นสู่รุ่นทั้งภายในภายนอก ไม่ว่าจะเป็นพรม ผ้าม่านลายดอกไม้ เพิ่มเติมวัสดุไม้อัดผสมไม้ธรรมชาติ งานเหล็ก งานบิลท์อินที่เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่บ้านขนาดเล็กให้คุ้มค่ามากขึ้น
ในฤดูหนาว หน้าต่างบานใหญ่ที่สูงขึ้นจากการยกขึ้นของกระท่อม ช่วยให้มองเห็นทัศนียภาพในทุกทิศทางออกไปสู่ยอดเขา เมื่อคุณมองออกไปจากหน้าต่างห้องนอนเห็นหิมะตกบนต้นไม้ ในฤดูร้อนก็รู้สึกสดชื่นอยู่ท่ามกลางร่มไม้โดยรอบ ไม่ว่าจะฤดูไหนก็จะสัมผัสได้ถึงการเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์อย่างแท้จริง phuket property

ตัวบ้านถูกยกขึ้นสูงเล็กน้อยบนแท่นคอนกรีต เพื่อให้มุมมองที่ไกลขึ้นอีกนิด และปล่อยให้ลมลอดผ่านลดความชื้นใต้อาคารได้ดี บริเวณนี้มีหิมะตกบ่อยจึงใช้หินในแม่น้ำมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างบ้านเพื่อปกปิดแท่นคอนกรีตที่รองรับตัวบ้านและเอาไว้รองรับหิมะด้วย เนื่องจากพื้นผิวหินจะมีรูพรุนซึ่งหิมะสามารถละลายได้ดีไม่เกิดเป็นน้ำขังที่อันตรายกับการใช้งาน
BACH หรือบาค เป็นศัพท์พื้นถิ่นที่ใช้สำหรับเรียกบ้านพักตากอากาศหรือบ้านริมชายหาดขนาดเล็ก ๆ เรียบง่ายในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ้นที่ไม่หวือหวาโดดเด่น แต่สะท้อนคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตวันหยุดริมชายหาดที่คนชั้นกลางเข้าถึงได้มากขึ้นนั่นเอง
รู้จักข้อดีของเมทัลชีท ที่วัสดุกระเบื้องหลังคาทำไม่ได้
เมทัลชีท เป็นวัสดุแผ่นโลหะบาง ๆ ได้รับความนิยมในการใช้งานจากทั่วโลกมานานนับร้อยปี โดยเฉพาะในกลุ่มงานอุตสาหกรรม โรงงาน หรืออาคารสำเร็จรูปที่ต้องการความรวดเร็วในงานก่อสร้าง ต่างนิยมนำประโยชน์ของเมทัลชีทมาใช้ห่อหุ้ม ทั้งส่วนหลังคาและผนังอาคาร ส่วนการนำ บ้านเมทัลชีท มาใช้ในประเทศไทย ระยะแรกเน้นเฉพาะงานอุตสาหกรรมเช่นกัน และต่อมาเมทัลชีทได้รับความนิยมสูงมาจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นคู่แข่งสำคัญของวัสดุหลังคากระเบื้องก็ว่าได้
ขอหยิบยกข้อดีต่าง ๆ ของหลังคาเมทัลชีท ที่วัสดุประเภทกระเบื้องไม่สามารถทำได้ แต่ก่อนจะเรียนรู้ข้อดี ของเมทัลชีท ผู้เขียนต้องขอชี้แจงก่อนว่า วัสดุแต่ละประเภทนั้นต่างมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป และวัสดุแต่ละประเภท มีเกรดคุณภาพที่แตกต่างกัน ในเนื้อหาชุดนี้จึงหมายรวมเฉพาะเมทัลชีทที่มีคุณภาพมาตรฐานเท่านั้น และไม่ได้หมายถึงว่า หลังคาเมทัลชีทจะดีกว่าหลังคากระเบื้องนะครับ แต่หมายถึงเฉพาะส่วนที่งานกระเบื้องทำไม่ได้เท่านั้น phuket property

คุณสมบัติเด่น ที่หาได้เฉพาะหลังคาเมทัลชีท
1.หลังคาเมทัลชีท ยาวต่อเนื่องตลอดทั้งผืน
วัสดุหลังคากระเบื้องที่เราคุ้นเคยกัน โดยปกติจะออกแบบในลักษณะแผ่นเล็กๆ วางซ้อนทับกันตลอดทั้ง ผืนหลังคา ตรงจุดนี้ทำให้เกิดข้อบกพร่องในงานก่อสร้างที่อาจเกิดรอยต่อรั่วซึม ภายหลังได้ และทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงานบางอย่าง แต่สำหรับเมทัลชีทซึ่ง เป็นแผ่นเหล็กรีดลอน สามารถผลิตให้มีความกว้างยาวได้ จึงสามารถลดปัญหาจุดรอยต่อ จุดรั่วซึมไปได้มาก
2.เมทัลชีทคายความร้อนได้ดีกว่า
หากเปรียบเทียบคุณสมบัติ ป้องกันความร้อน แน่นอนว่าหลังคากระเบื้องซึ่งผลิตจากคอนกรีต สามารถกันความร้อน ได้ดีกว่าวัสดุประเภทโลหะ ที่มีคุณสมบัตินำความร้อน แต่หากเปรียบเทียบในด้าน “คายความร้อน” วัสดุเมทัลชีทจะสามารถคาย ความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้อง นั่นหมายถึงหลังจากพระอาทิตย์ตกดินลงไปแล้ว ความร้อนที่กำลังสะสมภายในบ้านจะถูกคายออกอย่างรวดเร็ว แต่หลังคากระเบื้องคอนกรีต มีคุณสมบัติอมความร้อน ภายในบ้านจึงเย็นช้ากว่าเมทัลชีท
3.ชายคาเมทัลชีท ออกแบบให้ยื่นยาวได้
การออกแบบหลังคารูปทรงไทย เช่น ปั้นหยา จั่ว โดยปกติจะออกแบบให้มีชายคายาวออกไปประมาณ 1 เมตร เหตุผลของการออกแบบ 1 เมตร นอกจากด้านดีไซน์แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับด้านโครงสร้างหลังคา เพราะหากยาวเกินกว่านั้นโครงสร้างหลังคา จะไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างเพิ่มเติม เพื่อมารองรับน้ำหนัก หลังคาที่ยื่นยาวออกไป แต่หากเป็นวัสดุเมทัลชีทซึ่งมีน้ำหนักเบา ทำให้การออกแบบหลังคา ข้ามขีดจำกัดเหล่านี้ไปได้
4.หลังคาเมทัลชีท รองรับองศาต่ำ
นอกจากชายคาแล้ว จุดที่เมทัลชีท ทำคะแนนได้ดีมากนั่นคือ สามารถออกแบบรูปทรงหลังคาต่ำได้ โดยปกติการใช้หลังคา กระเบื้องจะออกแบบองศาความชันของหลังคา ซีแพ็คประมาณ 25-40 องศา หรือหากเป็นหลังคาลอนคู่ สามารถออกแบบ ได้ต่ำลงมาอีกนิด โดยรองรับความชัน 15 องศา แต่นั่นก็ไม่สามารถเทียบกับ หลังคาเมทัลชีทได้เลย เพราะสามารถรองรับความชันเพียง 4-5 องศาสำหรับรุ่นธรรมดา และต่ำสุด 2 องศาสำหรับรุ่นที่ออกแบบมาพิเศษ
เหตุผลที่หลังคากระเบื้องไม่สามารถรองรับองศาต่ำได้ เนื่องด้วยกระบวนการติดตั้งที่จำเป็นต้องซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ หากองศาต่ำมากเกินไป กรณีที่ฝนสาดลมแรงจะส่งผลให้น้ำไหลย้อนกลับเป็นเหตุให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน ส่วนหลังคาเมทัลชีทเป็นแผ่นเดียวกันทั้งผืน จึงไม่เกิดปัญหาเหล่านี้
และด้วยข้อดี ในการรองรับองศาต่ำ สถาปนิกหลายท่าน จึงประยุกต์การใช้งานเมทัลชีทร่วมกับบ้านสไตล์ Modern โดยสามารถซ่อนหลังคาเมทัลชีทไว้ภายใน ซึ่งหากดูจาก ตัวบ้านภายนอกจะเสมือนว่า เป็นบ้านหลังคาแบน (Slab) แต่แท้จริงแล้ว เป็นหลังคาเมทัลชีท อีกทั้งยังช่วยประหยัด งบประมาณและลดปัญหารั่วซึมได้ดีกว่า บ้านเดี่ยว บ้านแฝด
5.โครงสร้างหลังคาเมทัลชีท เบากว่า ต้นทุนจึงต่ำกว่า
ข้อนี้อาจเรียกได้ว่า หลังคาเมทัลชีทชนะหลังคา กระเบื้องแบบอย่างทิ้งห่าง ด้วยน้ำหนักของกระเบื้อง ที่ผลิตจากคอนกรีต ทำให้โครงสร้างหลังคาและโครงสร้างอาคารต้อง แบกรับน้ำหนักมาก แต่หากเป็นหลังคาเมทัลชีท การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้าง จะช่วยลดภาระการแบก รับน้ำหนัก นั่นหมายถึงงบประมาณใน งานก่อสร้างถูกกว่า หลังคากระเบื้องด้วย
6.หลังคาเมทัลชีท จบงานไว ประหยัดเวลาก่อสร้าง
ลองจินตนาการถึงงาน ปูกระเบื้องหลังคา แผ่นหลังคา กระเบื้องมีขนาดเล็ก ช่างจะค่อย ๆ เรียงแผ่นกระเบื้องทีละ แผ่นซ้อนทับกันกระทั่งจบงาน งานลักษณะนี้ต้องอาศัยความปราณีต ชำนาญ มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลังได้ แต่หากเป็น หลังคาเมทัลชีทซึ่งมีขนาดใหญ่ เป็นแผ่นเดียวกันตลอดทั้งผืน เพียงแค่วางและติดตั้ง ใช้เวลาก่อสร้างไม่นานเลย Home
7.หลังคาเมทัลชีท โค้งได้ตามใจชอบ
ด้วยกระบวนการผลิตเมทัลชีทซึ่ง เป็นแผ่นเหล็กรีดลอน จึงสามารถรองรับกับการบิดงอได้ แตกต่างจากงานกระเบื้องคอนกรีต ที่ไม่สามารถดัดโค้งได้ คุณสมบัติข้อนี้ ทำให้เกิดวิวัฒนาการด้านดีไซน์ ก่อกำเนินงานสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ ๆ มากมาย
8.เมทัลชีทไม่ได้เป็นแค่หลังคา แต่กรุผนังได้ด้วย
ทิ้งท้ายด้วยอีกหนึ่งข้อดี ของวัสดุเมทัลชีท ที่ปัจจุบันเริ่มนำมาใช้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับผู้อ่านท่านใดที่ต้องการ ปรับโฉมผนังบ้านให้เท่ เพียงแค่ติดตั้งบ้านเมทัลชีท เข้ากับผนังบ้านของเรา ความสวยงามก็เกิดขึ้น ได้โดยทันทีแล้ว