บ้านนอร์ดิกผสมลอฟท์ สไตล์คลาสสิกเก๋ๆ

บ้านนอร์ดิกผสมลอฟท์ บ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic House Style) เป็นรูปแบบบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมของยุโรปตอนเหนือ ถือเป็นอีกหนึ่งสไตล์บ้านที่กำลังเป็นที่พูดถึงมาก อยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะใครที่ หลงใหล ตกหลุมรัก บ้านดีไซน์สวย เรียบง่าย และชวนผ่อนคลาย รวมถึงการออกแบบที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัย Nordic House Style คือสไตล์บ้านในฝันที่หลายๆคนหลงใหลและกำลังมองหาอยู่แน่นอน

นอร์ดิกเป็นสไตล์บ้านแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ บ้านแนวนอร์ดิกจะมีเอกลักษณ์ในเรื่องของความอบอุ่น เรียบง่าย เน้นความโปร่งโล่ง และมีจุดเด่นก็คือรูปทรงจั่วคล้ายกับโรงนาในยุโรป เน้นความเป็นธรรมชาติของสีและวัสดุอุปกรณ์ บ้านแฝด 

รวมไปถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่า ความสวยงาม การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกจึงมักมีด้านที่เป็นกระจกช่วย เพิ่มแสงสว่างและความอบอุ่น ปัจจุบันบ้านสไตล์นอร์ดิกได้มีการประยุกต์ และผสมผสาน กับ ทั้งสไตล์มินิมอล สไตล์โมเดิร์น สไตล์ลอฟต์ปูนเปลือย หรือจะไปแนวสไตล์หรูหราก็เป็นที่นิยมอย่างมาก

บ้านนอร์ดิกผสมลอฟท์

ไอเดียแบบบ้านนอร์ดิกผสมลอฟท์

“อยากอยู่บ้านตลอด” เป็นความรู้สึกของเจ้าของบ้านหลังจากสร้างเสร็จ ซึ่งเป็นไปตามตั้งใจไว้ตั้งแต่ขั้น ตอนการออกแบบว่าอยากทำบ้านหลังนี้ให้ออกมาดีที่สุด เป็นเหมือนบ้านในฝันมากที่สุด บ้านที่อยู่ได้ทุกๆ วันแบบไม่มีวันเบื่อ สำหรับสไตล์ของบ้านหลังนี้เป็น การผสมผสานจุดเด่นของบ้าน 2 สไตล์เข้าไว้ด้วยกัน คือ สไตล์นอร์ดิกและสไตล์อินดัสเทรียลลอฟท์ ที่นำมาคลุกเคล้ารวมกันได้อย่างลงตัว ทำให้บ้านมีทั้งความเฉียบคม อบอุ่น และความดิบเท่อยู่ด้วยกัน เกิดสไตล์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ

บ้านหลังนี้สร้างอยู่ในประเทศไทยของเรานี่เอง เจ้าของคือคุณ พื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมดประมาณ 145 ตร.ม ส่วนค่าก่อสร้างรวมเฟอร์นิเจอร์น่าจะประมาณ 2.5 ล้านบาท สำหรับดีไซน์ด้านหน้า โดดเด่นด้วยเส้นสายสไตล์นอร์ดิกเห็นชัด ๆ จากรูปทรงของบ้าน ที่เป็นสามเหลี่ยมทรงสูง หลังคาซิงเกิ้ล (Shingle Roof) แผ่นเรียบไม่มีชายคา

แต่วัสดุที่นำเสนออารมณ์ของ ตัวบ้านตกแต่งในสไตล์ลอฟท์ อย่างผนังปูนเปลือยขัดมันสลับอิฐโชว์แนว เน้นสีโทนดำ น้ำตาล เทา ตกแต่งบริเวณจั่วด้วยงานไม้เพิ่มมิติทางสายตาสวย ๆ และยังช่วยลดทอนความดิบแข็งของคอนกรีตลงอย่างสมดุล

บ้านนอร์ดิกผสมลอฟท์

โครงสร้างหลักของ บ้านประกอบด้วยเหล็ก คอนกรีตขัดมัน อิฐ และไม้ ส่วนพื้นที่ใช้ชีวิตหลัก ๆ บริเวณห้องนั่งเล่นออกแบบเป็นโถงสูง Double Space ให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง ซึ่งเป็นหนึ่งจุดเด่นของสไตล์ลอฟท์ ห้อมล้อมด้วยผนังอิฐแดงสูงสองเท่าโชว์พื้นผิวแบบสัจจะวัสดุ แทรกด้วยประตูหน้าต่างกระจกเติมความโปร่งเบาให้บ้าน และทำหน้าที่ดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่บ้าน

บนผนังจะสังเกตเห็นท่อเหล็ก ที่ร้อยสายไฟเอาไว้ข้างในเน้นย้ำความเท่แบบโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับการตกแต่งห้องนี้ใส่ความคลาสสิคกับพัดลมวินเทจ ผสมตู้ไม้ยาวสไตล์โมเดิร์น เสริมความเก๋า ปนหรูกับชุดโซฟาหนังแท้ที่ยิ่งใช้ยิ่งสวย บ้านจัดสรร

ด้วยความสูงจากพื้นถึงหลังคา ทำให้สามารถแบ่งพื้นที่เป็นชั้นสองมีแผ่นคอนกรีตและโครงสร้างเหล็กรองรับ เมื่อเงยหน้ามองหลังคาโชว์โครงสร้างเหล็กเป็น แนวเรียงกันไปและวัสดุไม้อัด OSB ซื่งจะใช้คู่กับหลังคา Shingle Roof มุมครัวดูเข้มขรึมกับโทนสีและวัสดุที่ใช้สีดำ และน้ำตาลเป็นหลัก เติมมิติทางสายตาด้วยไฟสีวอร์ม ให้บรรยากาศเหมือน คาเฟ่หรือผับในช่วงกลางคืน

ห้องครัวเท่ๆน่าใช้งาน

โทนสีเทาของปูนขัดมัน ให้บรรยากาศสงบแต่ดิบกระด้าง

หากมากเกินไปอาจจะทำให้รู้สึกถึงความ แข็งกระด้างที่ชวนให้อึดอัดได้ ในห้องนอนที่ต้องการความ รู้สึกนุ่มนวลและผ่อนคลายมากขึ้น จึงเลือกใช้สีขาวทาผนังโชว์แนวเหนือหัวเตียง ผ้าม่านใช้สีเทา เตียงและตู้เลือกงานไม้สีอ่อน ๆ เข้ากับชุดเครื่องนอนสีเบจ เทา และน้ำตาล ผนังกระจกขนาดใหญ่ติดผ้าม่าน 2 ชั้น ชั้นนอกโปร่ง ๆ สีขาวชั้นในสีเทาเลือก ระดับความทึบตามชอบ ทั้งสีและวัสดุสร้างบรรยากาศช่วยให้การนอนหลับเต็ม ไปด้วยความรู้สึกละมุนและสบายในสไตล์นอร์ดิก

ห้องน้ำสองห้องก็ เลือกตกแต่งโดยนำเสนอเรื่องของสี แสง และวัสดุสลับอารมณ์กันระหว่างความเข้มดุดัน ดิบ เปลือย สไตล์อินดัสเทรียล-ลอฟท์ และความสว่าง สะอาด โปร่งตา ดูอบอุ่นนุ่มนวลแบบนอร์ดิก ในบ้านหนึ่งหลังจึงมีครบทุกอารมณ์ ชอบอะไรก็ใส่ลงไปในบ้านให้หมด ไม่ต้องแอบรักพี่เสียดายน้อง phuket property

ห้องน้ำน่าใช้

shingle roof หรือวัสดุมุงหลังคา เป็นวัสดุใหม่ ๆ ที่เคลือบหน้าด้วยางมะตอยชนิดหนึ่ง ทำมาจากแผ่น ไฟเบอร์ที่มีความแข็งแรงสูง ลักษณะเป็นแผ่นพื้นผิวเรียบ การติดตั้งต้องมีตัว แผ่นรองหรือซับรูฟ (Sub Roof) ทำหน้าที่ป้องกันน้ำฝนและช่วยค้ำรองรับแผ่นผืนยางมะตอย วัสดุที่นิยมใช้คือไม้อัด OSB เป็นต้น ข้อดีของ shingle roof มีหลากลาย

อาทิ สามารถสร้างสรรค์ ทรงหลังคาได้หลายรูปแบบ เข้ากับบ้านได้หลากสไตล์ มีราคาถูกเทียบกับหลังคาชนิดอื่นๆ แต่ในส่วนของการระบายอากาศ shingle roof มีอายุอยู่ได้ประมาณ 20 ปี และในพื้นที่ฝนตกชุกหลังคาจะดูดซับความชื้นได้ดีทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย

สิ่งที่ต้องระวังก่อนสร้างบ้าน Modern Barn

ก่อนจะนำ บ้าน สไตล์ใด ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วม กับบ้านของเรา อยากให้ทราบที่มาที่ไป ต้นกำเนิด เพื่อเข้าใจบริบทในงาน ออกแบบ อย่างบ้านสไตล์ Nordic หรือ Modern Barn มีต้นกำเนิดมาจาก สถาปัตยกรรมในยุโรป ซึ่งเป็นโซนเมืองหนาวผู้อยู่อาศัยจึงต้องการความ อบอุ่นจากแสงอาทิตย์ การออกแบบบ้านจึงเน้นเปิดช่องแสง

เพื่อให้สามารถนำแสงสว่างจาก ธรรมชาติเข้ามาสู่อาคารได้ และด้วลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจาก โรงนาที่ไม่มีกันสาด ดังนั้นการยกรูปแบบของนอร์ดิกมาใช้เลย โดยไม่ปรับประยุกต์ให้ เข้ากับบริบทของเมืองไทยแน่นอนว่าจะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ในภายหลังได้ ซึ่งสิ่งที่ควรระวังสำหรับบ้านสไตล์ Modern Barn มีอยู่ 3 ประการหลักด้วยกัน ดังนี้

1.บ้านนอร์ดิก กับปัญหาความร้อน ร้อนแนบ้านแบบนี้ นี่คือความคิดเห็นที่เรามักพบได้เสมอเมื่อพูดถึง บ้านสไตล์นอร์ดิก ซึ่งต้องยอมรับ ว่าจริงบางส่วน เพราะด้วยหลังคา ทรงจั่วแบบไร้ชายคา และการใช้กระจกเป็นองค์ประกอบของบ้านค่อนข้างมาก ย่อมส่งผลให้บ้านได้รับความร้อนเข้าสู่ภายในได้มากขึ้น แต่หากวางแผนงานให้ดีตั้งแต่ต้น ปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการ

นอกจากการออกแบบแล้ว วัสดุก็มีส่วนสำคัญมาก อย่างการเลือกทำผนังอิฐ 2 ชั้น, เลือกวัสดุมุงหลังคา ที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน พร้อมติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนและฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา Home

โดยเฉพาะจุดที่ต้องการทำฝ้า สูงโปร่งตามแนวจั่วจะต้องเพิ่มคุณสมบัติกันความร้อนมากเป็นพิเศษ หรือหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการหมุนเวียนอากาศด้วยกลไลธรรมชาติ สามารถใช้ระบบ Active Airflow ที่ติดตั้งบนหลังคาทรงจั่วได้ โดยก่อนติดตั้ง จะมีวิศวกรมาตรวจสอบให้ก่อน และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือต้นไม้ ช่วยให้บ้านสไตล์ โรงนาดูมีชีวิตชีวา ลดอุณหภูมิร้อนทางสายตาได้เป็นอย่างดี

2.บ้านนอร์ดิก ฝนสาด ผนังชื้น
เสน่ห์ของ Modern Barn คือเส้นสายของหลังคาแบบไร้ชายคา หากใส่กันสาดเข้าไปอาจทำให้เสน่ห์ของบ้านสไตล์นี้ลดลงไปได้ เจ้าของบ้านจึงต้องทำความเข้าใจเพื่อออกแบบรับมือกับความชื้นบนผนังและฝนสาดให้ได้ตั้งแต่ต้น เช่น จุดพักผ่อนสำคัญอย่างห้องนั่งเล่น ให้ออกแบบด้วยวิธีการร่นผนังเว้าเข้าไป เพื่อให้หลังคาทำหน้าที่เป็นกันสาดไปในตัว ส่วนปัญหาฝนสาดบริเวณหน้าต่างฝั่งที่ไม่มีชายคา จำเป็นต้องเลือกบานหน้าต่างขอบอลูมิเนียมหรือไวนิล จะช่วยป้องกันน้ำ phuket property

3.หลังคารั่วซึม
แม้ว่าบ้าน Modern Barn จะมีจั่วสูงแต่ก็อาจเกิดปัญหารั่วซึมบนหลังคาได้หากขาดการมุงหลังคาที่ดี การรับมือกับปัญหานี้ สามารถทำได้ด้วยการการออกแบบความลาดเอียงของหลังคาให้เหมาะสม กับรุ่นวัสดุหลังคานั้น ๆ เช่น หลังคากระเบื้องแผ่นเรียบ SCG รองรับองศาความชันที่ 25 องศา แต่หากต้องการให้การ ระบายน้ำทำได้ดีขึ้น ควรออกแบบให้หลังคาชันมากขึ้นที่ 30-35 องศา จะช่วยลดปัญหารั่วซึม ปัญหาน้ำไหลย้อน บ้านทำเลดี

บทความแนะนำ