บ้านน่ารักใจกลางสวน น่าอยู่
บ้านน่ารักใจกลางสวน บ้านชั้นเดียวหลังคา โปร่งแสงให้อารมณ์แบบ greenhouse หลังนี้ อยู่ในสวนผลไม้ที่เมือง Chlum เขต Hořice ในสาธารณรัฐเช็ก สถาปนิกสร้างตัว บ้านไว้ตรงกลางสวน เพื่อสร้างมุมมองที่ดีที่สุด ให้ผู้อยู่อาศัยสามารถมองเห็น ทัศนียภาพที่สวยงาม ได้จากทุกห้องในบ้าน
บ้านประกอบด้วยสองส่วนหลัก คือชั้นหนึ่ง และเรือนกระจกตั้ง อยู่บนพื้นด้านบน ทั้งสองชั้นมีโครงสร้าง และหน้าที่แยกจากกัน องค์ประกอบหลักในการรับน้ำหนักของส่วนล่างคือ ผนังก่ออิฐที่เสริมด้วย เสาเหล็กที่ผูกคาน ยึดคอนกรีต เพดานทำจากไม้ KVH ส่วนโครงสร้างชั้นบน ทำจากเหล็กรูปพรรณ และวัสดุโปร่งใส หลังคาเป็นโพลีคาร์บอเนต โปร่งแสงที่รับความสว่าง เข้ามาช่วยให้ต้นไม้ที่ปลูกไว้เติบโต บ้านแฝด
ตัวบ้านหากมองจาก ด้านหนึ่งจะเห็น เป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาจั่วสูง ผนังกรุไม้แทรกด้วย ประตูกระจกบานใหญ่ ดูน่ารักอบอุ่น แต่หากมองจากอีกด้านจะเห็นเป็นอาคาร บ้านสองชั้น หลังคายื่นออกมาขนาดใหญ่เหมือน เป็นหลังคาทรงปั้นหยา สำหรับประตูหน้าต่างออกแบบ เป็นกรอบอะลูมิเนียมพร้อมกระจกฉนวนสามชั้น ให้ความอุ่นในฤดูหนาว และลดความร้อนในหน้าร้อน

ทุกที่คือทางเข้าหลัก อยู่จุดไหนก็เข้าบ้านได้
Layout สร้างมาแบบเข้าออก ทางไหนก็ได้ตาม สะดวกไม่มีประตูทางเข้าหลักที่แน่นอน จะเปิดประตูบานเลื่อนเข้าสู่พื้นที่ นั่งเล่น หรือห้องนอนโดยตรง หรือจะเข้าจากจากเฉลียงก็ได้ ซึ่งการเข้าถึงห้องแต่ละห้อง ในบ้านได้จากภายนอกเลยโดยไม่ต้อง ผ่านตัวบ้านเข้าไปก่อน เป็นลักษณะการออกแบบที่เป็นเรื่องใหม่ที่คนส่วนใหญ่ ยังไม่คุ้นเคย ส่วนข้างอาคาร ที่มีหลังคาคลุมพื้นที่กึ่งกลางแจ้งขนาดใหญ่ มีบันไดเหล็กสีทำนำสายตา ขึ้นสู่เรือนเพาะชำด้านบน
ตกแต่งภายในเรียบง่ายร่วม สมัยแต่เพิ่มบรรยากาศ ความอ่อนหวานด้วยชุดสีชมพูพาสเทล สีแดงกุหลาบของ ชุดโซฟามุมมนที่ดูอ่อนนุ่ม เพิ่มสีสันให้กับบ้าน และลดทอนความแข็ง กระด้างของโครงคาน คอนกรีตและไม้ที่โชว์อยู่ด้านบน ดูคล้าย ๆ บ้านชนบทไทยสมัยก่อน แต่ทันสมัยกว่า บ้านเดี่ยว

เชื่อมต่อทั้งพื้นที่และมุมมอง
ห้องรับแขก และห้องรับประทานอาหาร เป็นแบบเปิดโล่ง (open plan) เชื่อมต่อกันหมด ทำให้รู้สึกว่าพื้นที่ มีความยืดหยุ่น และลื่นไหล วัสดุตัวอาคารเป็นอิฐพลังงานต่ำ พร้อมจุดระบายอากาศ ด้านหน้ามีการ ระบายอากาศผ่านไม้กระดานต้นสนที่วาง เรียงในแนวตั้งทำให้ อากาศไหลเวียนได้ดี จากห้องนั่งเล่นและครัวจะมีผนัง กระจกทั้งสองด้าน
สามารถซึมซับวิว ภายนอกได้ในมุมมองที่แตกต่าง และสามารถเข้าถึงได้ จากภายนอกโดยไม่ต้อง เดินผ่านภายในเข้ามา ทำให้การใช้งาน สะดวกมากกว่าเดิม
ไม่เพียงแต่ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องนอนเท่านั้น ที่มองเห็นวิวสนามหญ้า วิวสวนผลไม้รอบ ๆ ได้ แม้แต่ในห้องน้ำ หรือห้องอาบน้ำก็ไม่ พลาดการเชื่อมต่อกับทัศนียภาพธรรมชาติ ผ่านประตูบาน สไลด์กระจกใส ให้ทุกครั้งที่ทำธุระส่วนตัวเต็มไปด้วยความสุนทรี

เรือนเพาะชำอยู่ด้านบน
ส่วนของเรือนกระจก ถููกตั้งไว้อยู่ด้านบน ด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ คือความสะดวกใน การเข้าถึงเพราะ ไม่ต้องออกจากตัวบ้านเหมือน greenhouse อื่น ๆ ไม่ต้องเปลืองโครงสร้าง ในการแยกโรงเรือนออกไป นอกจากนี้การวางตำแหน่งไว้บนสุดยังรับ แสงได้มากกว่าทำให้ บ้านทำเลดี
พืชเจริญเติบโตได้ ผลพลอยได้อีกประการคือ อุณหภูมิจาก โรงเพาะชำยังช่วยเพิ่ม ความอบอุ่นให้กับตัวบ้านในช่วงที่อากาศหนาว และช่วยชลอความ ร้อนที่จะลงไปด้านล่าง ในฤดูร้อนได้ด้วย phuket property
แผ่นหลังคาโปร่งแสง และโปร่งใสที่ได้รับ ความนิยมมีหลายชนิดวัสดุ อาทิ แผ่นอะคิลิค, UPVC, Apvc, ไฟเบอร์กลาส (ดีไลท์) และ โพลีคาร์บอเนต สำหรับแผ่นโพลีคาร์บอเนต จะนิยมใช้ค่อนข้างมาก เนื่องจากราคาถูก มีให้เลือกทั้งแบบลอนลูกฟูก 2 ชั้นมีช่องอากาศตรงกลาง และแบบแผ่นตัน มีแบบใส-ผิวเปลือกส้ม ข้อดีคือสวยงาม มีหลายสี ตัวแผ่นเคลือบสารกัน UV มาให้ด้วย แต่ข้อเสียคือ พื้นที่ใต้ชายคายังร้อน เพราะแสงสามารถ ส่องผ่านได้และมีเสียงดัง เมื่อฝนตกกระทบ

วัสดุหลังคาโปร่งแสงยอดฮิต
คุณสมบัติในด้านต่าง ๆ และราคาของหลังคาโปร่งแสง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเจ้าของบ้านพิจารณาเลือกใช้ ในส่วนต่างๆ เช่น งานต่อเติมหลังคากันสาด หลังโรงรถ เป็นต้น
“หลังคาโปร่งแสง” หรือที่บางคนเรียกว่า “หลังคาใส” นั้น เป็นได้ทั้งส่วนหนึ่งของหลังคาในงานออกแบบอาคาร ทั้งยังใช้ทำหลังคากันสาด หรือหลังคาส่วนต่อเติมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงจอดรถ ครัว ระเบียงพักผ่อน
ด้วยคุณสมบัติเด่นที่ยอมให้แสงผ่านได้ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุให้เลือกใช้มากมาย วัสดุหลังคาโปร่งแสงยอดนิยมในบ้านเรา เพื่อนำมาเปรียบเทียบคุณสมบัติ ข้อดี และข้อควรระวังต่างๆ เพื่อให้เจ้าของบ้านตัดสินใจในการเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น
1.หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก
แผ่นโปร่งแสงอะคริลิก มีพื้นผิวเรียบ ใส เงา เหมาะกับการทำกันสาดหรือหลังคาโปร่งแสงสำหรับบ้านหลายสไตล์ โดยเฉพาะ สไตล์โมเดิร์น คุณสมบัติเด่นคือมีความใสเทียบเท่ากระจกแต่น้ำหนักเบากว่ามาก เนื้อเหนียว ดัดโค้งได้ ไม่กรอบหรือแตกลายงา ไม่เป็นฝ้า
มีทั้งรุ่นธรรมดาที่กรองแสงแดดได้ระดับหนึ่ง กับรุ่นที่กรองแสงและป้องกันความร้อนได้มากขึ้น สำหรับงานหลังคาโปร่งแสงหรือกันสาดโปร่งแสงจะใช้ที่ความหนา 6 มม. ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้สูงสุด 90 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว
ข้อควรระวังของการใช้แผ่นโปรงแสงอะคริลิกคือ ต้องติดตั้งตามมาตรฐานตามระยะโครงสร้างที่บริษัทกำหนด หรือต้องติดตั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ที่สำคัญควรระวังรอยขีดข่วนจากของมีคมช่วงการติดตั้ง ส่วนการดูแลรักษาหลังคาโปร่งแสงอะคริลิกให้ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำสบู่อ่อนๆ ก็เพียงพอแล้ว
ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดอื่น ๆ หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคม แก๊สโซลีน แล็กเกอร์ และทินเนอร์ในการทำความสะอาดโดยเด็ดขาด เพราะจะไปทำลายผิวหน้าของแผ่นได้ สำหรับราคาของแผ่นหลังคาโปร่งแสงอะคริลิกพร้อมโครงสร้างรวมค่าแรงติดตั้งจะอยู่ที่ประมาณ 6,000 – 6,500 บาท/ตร.ม.
2.หลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส
แผ่นโปร่งแสงไฟเบอร์กลาสสำหรับทำกันสาดหรือหลังคาโปร่งแสงนั้น มีลักษณะแผ่นทั้งแบบลอนลูกฟูกและแบบเรียบ มีสีสันหลากหลายทั้งสีใสและสีขุ่น แสงส่องผ่านพอสบายตา โดยปริมาณของแสงที่ผ่านแต่ละสีก็จะไม่เท่ากัน ที่ผิวด้านบนของแผ่นเคลือบสารป้องกัน UV เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน และยังมีรุ่นที่ช่วยป้องกันความร้อนเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน
แผ่นไฟเบอร์กลาสมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น สามารถดัดโค้งได้ มีหลายความยาวให้เลือกตามการใช้งาน อย่างไรก็ตาม อาจมีเสียงฝนตกกระทบรบกวนอยู่บ้าง และสีอาจซีดจางได้ตามกาลเวลา สำหรับราคาของแผ่นโปร่งแสงไฟเบอร์กลาสพร้อมโครงสร้างรวมค่าแรงติดตั้งในงานกันสาดหรือหลังคาโปร่งแสงจะเฉลี่ยตารางเมตรละ 3,200-3,500 บาท แต่หากเป็นราคาของแผ่นหลังคาอย่างเดียวจะอยู่ที่ประมาณ 575-750 บาทต่อตารางเมตร
3.หลังคากระจกลามิเนต
การทำหลังคาหรือกันสาดแบบกระจกใสควรเลือกใช้กระจกลามิเนต ซึ่งประกอบด้วยกระจก 2 แผ่นประกบกันแบบแซนวิสโดยมีฟิล์มกัน UV อยู่ตรงกลาง หากเกิดการกระแทกจนกระจกแตก กระจกจะเกาะกับชั้นฟิล์ม ไม่ร่วงหล่นลงมาทำอันตราย ประเภทของกระจกที่นำมาประกบกันเป็นกระจกสามารถเลือกได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
แต่โดยส่วนใหญ่เลือกใช้กระจกเทมเปอร์ซึ่งเมื่อแตกจะมีลักษณะเหมือนเม็ดข้าวโพดไม่แหลมคม และความหนาของกระจกแต่ละชั้นมักจะใช้ที่ความหนา 4 หรือ 5 มม. (อาจจะใช้ความหนากระจกมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ แต่ก็จะมีน้ำหนักมาก ต้องเตรียมโครงสร้างรองรับทำให้ราคารวมยิ่งสูงขึ้น)
ข้อดีของการใช้กระจกเป็นหลังคากันสาดคือ เวลาฝนตกจะไม่ค่อยมีเสียงรบกวนมากนัก มีหลายสีให้เลือก ทั้งสีฟิล์มและสีกระจก เนื้อกระจกใสมองเห็นบรรยากาศภายนอกชัดเจน แต่ก็ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เพราะจะสกปรกได้ง่าย โดยอาจเคลือบน้ำยาลดการเกิดคราบน้ำเพื่อลดความถี่ในการทำความสะอาด
สิ่งที่สำคัญคือต้องติดตั้งให้ถูกวิธีโดยช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มีโครงสร้างรองรับที่แข็งแรง ใช้ยาแนวซิลิโคนให้ถูกประเภทและมีคุณภาพ สำหรับราคาค่ากระจกเทมเปอร์ลามิเนต (4+4, 5+5 มม.) พร้อมอุปกรณ์ประกอบ รวมค่าติดตั้ง (ไม่รวมโครงสร้างรองรับ) จะอยู่ประมาณ 4,300-4,600 บาทต่อตารางเมตร (ราคาอาจสูงหรือต่ำกว่านี้ขึ้นอยู่กับประเภทกระจกที่เลือกใช้)