
บ้านฟาซาดไม้ระแนง
บ้านฟาซาดไม้ระแนง 2 ชั้น ขับเส้นสายไม้ระแนงให้โดดเด่น
บ้านฟาซาดไม้ระแนง 2 ชั้น ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ ฟาซาด (Facade) กันอีกครั้ง บ้านน่าอยู่ ด้วยที่มาของรากศัพท์และความหมายแต่ เดิมที่ถูกใช้เรียก ‘ด้านหน้าหรือโฉมหน้า’ ในศัพท์ภาษาฝรั่งเศส และเมื่อฟาซาด (Façade) ถูกนำมาใช้เรียกในศัพท์ ทางสถาปัตยกรรมแล้วนั้น จึงหมายความว่า ‘องค์ประกอบด้านหน้าอาคาร’ ที่ครอบคลุมไปถึงชายคา HOME กันสาด ระเบียง หน้าต่าง และส่วนปลีกย่อยของ อาคารอย่าง ลายปูน บัวประดับผนัง หรือเสาพอก เป็นต้น

ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่ ทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มอาคาร เพื่อช่วยอำพรางสายตาจาก บุคคลภายนอก ป้องกันตัวอาคารจากสภาพแวดล้อม รวมไปถึงการสร้าง อัตลักษณ์ที่สวยงามให้ กับตัวอาคารมีความน่าสนใจ ด้วยลูกเล่นหรือแพทเทิร์นใหม่ๆ ที่ช่วยมอบความสุนทรียะ ทางด้านสถาปัตยกรรมให้เกิดความแตกต่าง ระหว่างคำว่า ‘อาคารกับสถาปัตยกรรม’ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงทำให้ บ้านฟาซาด (Facade) ไม่เพียงแต่เป็นที่นิยมใช้ออกแบบ อาคารในกลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบ แต่เจ้าของโครงการ หรือเจ้าของบ้านก็ยังให้ ความสนใจในรายละเอียด ส่วนนี้ไม่แพ้กัน เพราะนอกจากฟาซาด (Facade) จะมีประโยชน์ทั้ง ในแง่ของการมอบคุณภาพ การใช้ชีวิตภายในอาคาร ที่ดีได้แล้ว ใบหน้าของบ้านหรือสถาปัตยกรรมที่ผู้คนทั่วไป ได้พบเห็นก็ยังสามารถออกแบบ ให้เกิดความแปลกใหม่ไม่ซ้ำ ใครได้อีกด้วย
ไอเดียบ้านสีดำเข้ม ฟาซาดไม้ระแนง
การสื่อสารที่ดีเป็นส่วน สำคัญของเริ่มต้นกระบวน การออกแบบบ้าน เพราะจะทำให้ทุกส่วนของบ้านออกมาชัดเจนตรงใจ ส่วนใหนที่อยากให้เพิ่ม ตรงไหนอยากให้ลดหรือ ไม่ต้องการ หน้าตาของบ้าน แบบที่ชอบ ความรู้สึกต่อบริบทรอบ ๆ และมุมมองที่อยากได้ หรืออยากเลี่ยง ล้วนมีผลต่อภาพรวม และการใช้งานจริงของบ้านทั้งสิ้น สำหรับบ้านนี้เจ้าของ มองหาความเรียบง่าย เป็นธรรมชาติ ในขณะที่ เปิดโล่งรับวิวก็ยังมี ความเป็นส่วนตัว โจทย์ทั้งหมดจึงเหมือน เป็นการเดินทางที่น่าตื่นเต้น ในการสร้างโซลูชันที่ไม่เหมือนใคร

บ้านสองชั้น หลังนี้สร้างอยู่ ในประเทศนิวซีแลนด์ พื้นที่สร้างบ้านค่อนข้างกว้าง มีสนามหญ้าเป็นของตัวเอง เจ้าของบ้านจึงมีความตั้งใจ ว่าต้องการบ้านที่ใกล้ชิด และซึมซับธรรมชาติ ในบ้านได้เต็มที่ และยังมองเห็นทัศนียภาพที่กว้างไกล ออกไปชัดเจน ในขณะที่ยังคงความเป็น ส่วนตัวออกจากสายตา ของเพื่อนบ้าน
สถาปนิกจึงเนรมิต อาคารสองชั้นทรงกล่อง ที่เส้นสายเรียบคม ทุกชั้นของบ้านต้องมีพื้นที่ว่าง หรือส่วนที่เชื่อมต่อกับธรรมชาติได้ ไม่ได้ด้วยมิติ ของพื้นที่ก็ต้องได้ ด้วยมิติของสายตา แต่ในส่วนที่อยาก จะปิดเพื่อกั้นมุมมอง กรองแสง ในพื้นที่ส่วนตัวจะใช้ ส่วนประกอบของไม้ระแนงซี่ ๆ เป็นตัวเอกหลัก สีของอาคารเน้น สีดำเข้มขรึมจากไม้ซีดาร์ตีแนวนอนทึบ ๆ เป็นหลัก สลับกับไม้ระแนงสีน้ำตาลธรรมชาติ ที่ตีในแนวตั้งโปร่งๆ เกิดสมดุลทางสายตาของสี เส้น ความทึบและความโปร่ง
การตกแต่งภายในการเน้นบรรยากาศสบายๆ โปร่งๆ
พื้นที่ใช้สอยชั้นบนเป็นพื้นที่ ใช้ชีวิตหลัก รวมห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าง พร้อมห้องครัวที่มี ไอส์แลนด์ตัวใหญ่ ที่ใช้ได้ทั้งเตรียมอาหาร และปรับเป็นพื้นที่บาร์ ประตูและผนังบ้านสองด้าน เป็นกระจกช่วยให้พื้นที่ ทั้งหมดสามารถเปิดออกสู่ภายนอก ได้สมบูรณ์แบบสำหรับ ความบันเทิงและมุมมอง ที่กว้างขวาง เพื่อให้ดูผ่อนคลายสบายตา แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องแสง และความเป็นส่วนตัว เพราะจะตรงกับฟาซาดไม้ระแนง ที่เรียงยาวตลอดแนวพอดี

มุมเล็ก ๆ ข้าง ๆ ครัวทำเป็นพื้นที่ นั่งเล่นข้างหน้าต่าง มีม้านั่งบิลท์อินชิดด้านหลัง ที่เป็นกระจกใส ซึ่เป็นมุมโปรดของเด็ก ๆ ที่จะมานั่งชมวิว ระหว่างรออาหารเสร็จ ส่วนผู้ใหญ่ที่กำลังง่วนกับ การเตรียมมื้อพิเศษก็ รู้สึกว่าได้ใกล้ชิดกับคนอื่น ๆ ในบ้าน พร้อมกับรับภูมิทัศน์ ภายนอกได้แบบไม่ขาดตอน
ชั้นล่างที่เชื่อมต่อ ออกมายังเฉลียงกว้าง ๆ ชวนให้ออกมานั่งชิลและใช้ชีวิต กลางแจ้งในวันที่อากาศสบาย ๆ ส่วนวันไหนที่ท้องฟ้ามืดครึ้มหนาวจัด ฝนพรำ ๆ ก็ใช้ชีวิตหลัก ๆ อยู่ชั้นบนที่ยังเชื่อมต่อสายตา กับภูมิทัศน์ธรรมชาติรอบ ๆ ได้ นับว่าเป็นออกแบบ และสร้างประสบการณ์เชิงพื้นที่ ที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกคน ได้อย่างแท้จริง
การออกแบบ สถาปัตยกรรมในยุคไหน ๆ ก็ตาม หลักการที่ดีคือการทำให้ตัว บ้านสามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้อยู่อาศัย พร้อม ๆ ไปกับอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน บ้านเราต้องวิเคราะห์ทิศทางแสงแดด ลม และฝน
เพื่อหาแนวทางปกป้อง บ้านจากปัจจัยที่ว่านี้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแสงแดดที่ ค่อนข้างรุนอรง ผ่านรูปทรงและขนาดของหลังคา หรือการใส่ฟาซาดเพื่อกรองแสง อาทิ ฟาซาดแผ่นเหล็กเจาะรู บล็อกช่องลม หรือไม้ระแนงแบบต่าง ที่ไม่เพียงช่วยบังแดดเท่านั้น ยังให้ความสวยงามกับอาคาร และเพิ่มความเป็นส่วนตัวได้อีกด้วย
วัสดุอะไรใช้ทำฟาซาด (Facade) ได้บ้าง
โดยทั่วไป ฟาซาด (Facade) มักถูกจำแนกอย่างคุ้นเคยในแวดวงนักออกแบบอยู่เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท Double-Skin Façade หรือผนังสองชั้น และประเภท Building Form Façade หรือฟาซาด (Facade) ที่ถูกออกแบบให้เป็นทั้งผนัง และเปลือกอาคารในองค์ประกอบเดียวกัน ซึ่งประเภท Double-Skin Façade จะมีลักษณะเป็นการกรุฟาซาด (Facade) ไปที่ผนังอาคารเพื่อเพิ่มเลเยอร์ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยโครงสร้างเหล็ก อลูมิเนียมสำหรับยึดเกาะวัสดุอื่นๆ ที่จะติดตั้งทับบนแผงฟาซาด (Facade) อาทิ บ้านระแนงไม้ ตะแกรงเหล็ก บล๊อค อิฐ เป็นต้น
ส่วนประเภท Building Form Façade จะเป็นฟาซาด (Facade) ที่มีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งไปกับอาคาร หรือเน้นองค์ประกอบที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับระนาบของผนัง ซึ่งทำให้วัสดุปิดผิวที่จะถูกเลือกนำมาใช้กับฟาซาด (Facade) ประเภทนี้จึงต้องเป็นวัสดุที่มีดีไซน์สวยงามในตัวเองเพื่อให้เกิดรูปลักษณ์และความกลมกลื่นไปกับตัวอาคารได้ดี

อย่าง Façade Solution วัสดุตกแต่งทางเลือกใหม่จาก SCG D’COR ที่ไม่เพียงแต่มีลวดลายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แต่ยังผลิตด้วยวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์และวัสดุทางเลือกอื่นๆ เพื่อช่วยทดแทนวัสดุไม้จริง, เหล็ก, ปูน รวมถึงวัสดุรูปแบบเดิมๆ ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของคุณสมบัติ
อีกทั้งยังแข็งแรงทนทาน มีความยืดหยุ่นสูง และตอบโจทย์งานออกแบบฟาซาด (Facade) ได้อย่างลงตัวในทุกสไตล์ ไม่ว่าจะเป็น KMEW วัสดุตกแต่งผนังหลากลวดลายตั้งแต่ลายหิน อิฐ ไม้ และแร่ธาตุธรรมชาติ อย่างหินอ่อน หินปูน เหล็กและดิน ที่ช่วยให้งานออกแบบสไตล์ Modern Tropical, Modern Loft, Minimal, Nordic และสไตล์อื่นๆ เต็มไปด้วยสเน่ห์และกลิ่นอายที่งดงามโดยไม่ต้องใช้วัสดุจริงจากธรรมชาติ
นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติพิเศษสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยเทคโนโลยี photocatalytic ช่วยให้ผนังสวยเหมือนใหม่ได้ยาวนานกว่า 10 ปีโดยไม่ต้อง maintenance กันบ่อยๆ