บ้านเมทัลชีทสีขาว สวยเรียบง่าย สะอาดตา
บ้านเมทัลชีทสีขาว เมทัลชีทคือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับ ทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัด ของเมทัลชีท คือสามารถสั่งผลิต ตามขนาดความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิดรอยต่อ ของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคา กระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การ ติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรง ก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้าน ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันแผ่น เมทัลชีท มีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนด สเปคให้เหมาะสมแต่ละ ส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งานที่สอดคล้อง กับการอยู่อาศัย
บ้านสองชั้นจากเมทัลชีท และกระจก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ใน Nerima-ku, Tokyo ประเทศญี่ปุ่น เจ้าแห่งความมินิมอล อาคารออกแบบ สุดเรียบง่ายสไตล์ Bauhaus จากวัสดุธรรมดา ๆ ที่ให้ประสิทธิภาพ ได้เต็มที่ โซนนี้อยู่ในเขตที่ไม่อนุญาตให้สร้างอาคารสูง และต้องมีอัตราส่วน พื้นที่คลุมดินต่อ แปลงที่ดิน 50 %
การกำหนดขนาดตัวอาคาร ในแต่ละแปลงนี้ เพื่อป้องกันการลามไฟในกรณีเกิดเพลิงไหม้ และเป็นประโยชน์ในเรื่อง ของการระบายอากาศด้วย จึงต้องเผื่อพื้นที่ SETBACK ถอยจากแนวถนนด้วย ทุกอย่างดูเรียบ ๆ ง่าย ๆ เหมือนบ้านที่สร้างชั่วคราว แต่กลับมอบความสุข ในการอยู่อาศัยได้ยาวนาน

บ้านมินิมอลสีสัน และวัสดุเรียบง่าย
บ้านนี้ประกอบด้วยผนัง และหลังคาเมทัลชีท Galvalume(GL) หรือเหล็กอลูซิงค์ เคลือบป้องกันสนิม นำมารีดขึ้นลอน ผ้าใบขึงเป็นผนัง ไม้ และกระจก ออกมาเป็นทรงกล่องสูง 2 ชั้นพื้นที่ใช้สอยประมาณ 85.81 ตารางเมตร ดีไซน์อาคารก็เต็มไปด้วย พื้นที่ว่างตั้งแต่ชั้น ล่างที่เป็นส่วนโรงรถ และ open space เปิดโล่งออกสู่ท้องฟ้าบนชั้น 2 ที่อยู่ตรงกัน
ช่องว่างบนผนังหลาย ๆ จุดถูกปิดด้วยผ้าใบขึงอยู่ มองผ่านๆ เหมือนโรงยิมสำหรับออกกำลังกาย หรือ ชกมวย ในชั้นล่างจะเห็นห้องนอน ของคุณพ่อคุณแม่ ส่วนชั้นบนจะเป็นจุด ใช้พื้นที่ร่วมกันอาทิ ครัว พื้นที่ทานอาหาร จุดซักล้าง และห้องนอนของเด็ก ๆ
ผนังกระจกทำให้บ้านโปร่งสว่าง จากชั้นล่างเดินตามบันได ไม้ขึ้นมาสู่ชั้นบน ซึ่งระหว่างทางนั้นเต็ม ไปด้วยแสงสว่าง เพราะสถาปนิกเจาะผนังใส่ช่องแสงขนาดใหญ่เหนือโถงบันได ทำให้แสงจากธรรมชาติช่วยใน การมองเห็นในช่วงกลางวันได้เป็นอย่างดี จึงช่วยประหยัด การใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง ได้ค่อนข้างมาก ราวบันไดเป็นเหล็ก สี่เหลี่ยมทาสีดำ เส้นสายโปร่งเบาให้ลุคโมเดิร์น ตัดเส้นสายตาที่ชัดเจน และยังสร้างความต่อ เชื่อมไปที่กรอบกระจกด้วย

รวมพื้นที่ใช้ชีวิตไว้ที่ชั้น 2
สำหรับการออกแบบ พื้นที่ใช้สอย จากการพูดคุย กันในครอบครัว ตกลงจัดห้องครัว พื้นที่ซักรีด และโต๊ะทานอาหารเอาไว้ชั้นบน เมื่อเดินตามขึ้นมาถึงก็จะต้อนรับด้วยบรรยากาศ ความโปร่งเบาของผนัง กระจกที่โอบล้อม พื้นที่คอร์ทเอาไว้ และใส่ความอบอุ่นด้วย การปูพื้นด้วย ไม้ลายสวย เข้ากันกับโต๊ะรับประทานอาหารไม้ รีไซเคิลซึ่งมีความยาวประมาณ 3 เมตร สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ไม่ว่า จะเตรียมอาหาร ทานข้าว หรือนั่งเล่นชมวิว
ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ แนวตั้งเต็มที่ ผนังครัวบิวท์อิน ใส่ฟังก์ชันอื่น ๆ ซ่อนเอาไว้ด้วย เช่น ตู้เก็บของ เครื่องซักผ้า ช่องซ่อนแอร์ ไปจนถึงที่วางเครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ ทำให้บ้านดูเป็นระเบียบ เรียบร้อย และสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่แนวตั้งได้มาก จึงไม่ต้องมีตู้เก็บ ของวางรบกวน บ้านทำเลดี
การใช้งานพื้นแนวราบเลย ตามที่ลูกค้าบอก โจทย์ว่าอยาก ได้ครัวที่สามารถดื่มชากาแฟยามเช้าไปพลาง ดูต้นไม้และท้องฟ้าไป ในขณะที่เพลิดเพลิน กับการทำอาหารได้ จึงเป็นที่มาของการจัดตำแหน่ง เคาน์เตอร์ครัวให้ตรง กับผนังกระจกซึ่งมอง เห็นสวนและท้องฟ้าได้ทั้งสองด้าน

มีส่วนร่วมกับธรรมชาติได้ทุกจุด
ผนังกระจกที่อยู่ล้อมรอบ สร้างการเชื่อมต่อพื้นที่ และมุมมองทางสายตาทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ในแนวนอนสถาปนิก สร้างความลื่นไหลจากห้องสาธารณะออกสู่พื้นที่นั่งเล่น กลางแจ้งนอกบ้าน ส่วนแนวตั้งต่อ เชื่อมกับคอร์ทที่อยู่ชั้นล่าง ให้ไม่ขาดปฏิสัมพันธ์จากกัน พื้นที่ว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้าที่เจาะอยู่ภายในตัวบ้าน นอกจากเพิ่มพื้นที่ สบายตาให้กับอาคารแล้ว ยังเป็นจุดที่ดึงแสงธรรมชาติ สายลม ให้เข้ามาสร้างสภาวะ สบายกายได้พร้อม ๆ กัน
พื้นที่ห้องที่ค่อนข้างกว้าง ทำให้ระยะห่าง ระหว่างผนังทั้งสอง ด้านอยู่ในระดับพอดี เพียงพอที่จะ สามารถดูภาพยนตร์ และทีวีกับสมาชิก ในครอบครัวได้จากโปรเจคเตอร์ ที่ซ่อนอยู่ตรงผนัง บิวท์อินส่องฉายอยู่ phuket property บนผนังใกล้ ๆ บันไดพร้อมลำโพงสองตัวที่ ตั้งอยู่ใต้เพดาน ทำให้สมาชิกใน ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันมาก ขึ้นในห้อง อาหารที่เป็นศูนย์ กลางของบ้าน จัดสวนในพื้นที่บ้าน

จากจุดนี้ในส่วนครัว มองไปมุมทางซ้าย โรงแรมภูเก็ต เดิมจะมีประตูไม้ที่ปิดอยู่ เมื่อเปิดออกมาจะเห็นห้องนอนหลัก และห้องเด็กน้อย ที่ซ่อนอยู่ข้างหลัง ห้องนอนเป็นจุดที่นักออกแบบพยายาม ใช้พื้นที่น้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ห้องนอนเป็นเพียงมุมส่วนตัว ที่ใช้พักผ่อน นอนหลับ และความสำคัญ กับการใช้พื้นที่ร่วมกันมากกว่านั่นเอง
ในแต่ละจุดของบ้าน จะสามารถสังเกต และซึมซับเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ผ่านกระจกได้ชัดเจน ไม่ว่าจะอยู่ชั้นบน หรือ ชั้นล่างก็จะเห็นสวนที่มี ต้นเมเปิ้ลญี่ปุ่นต้นไม้ ผลัดใบในฤดูใบไม้ร่วง และเพลิดเพลินกับต้น fraxinus lanuginosa ที่ให้ดอกไม้สีขาว ในฤดูใบไม้ผลิ และยังปลูกต้นไม้บลูเบอร์รี่ เอาไว้ทานด้วย
คุณสมบัติเด่น ที่หาได้เฉพาะหลังคาเมทัลชีท

1.หลังคาเมทัลชีท ยาวต่อเนื่องตลอดทั้งผืน
วัสดุหลังคากระเบื้องที่เราคุ้นเคยกัน โดยปกติจะออกแบบในลักษณะแผ่นเล็กๆ วางซ้อนทับกันตลอดทั้งผืนหลังคา ตรงจุดนี้ทำให้เกิดข้อบกพร่องในงานก่อสร้างที่อาจเกิดรอยต่อรั่วซึมภายหลังได้ และทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงานบางอย่าง แต่สำหรับเมทัลชีทซึ่งเป็นแผ่นเหล็กรีดลอน สามารถผลิตให้มีความกว้างยาวได้ จึงสามารถลดปัญหาจุดรอยต่อ จุดรั่วซึมไปได้มาก
2.เมทัลชีทคายความร้อนได้ดีกว่า
หากเปรียบเทียบคุณสมบัติป้องกันความร้อน แน่นอนว่าหลังคากระเบื้องซึ่งผลิตจากคอนกรีต สามารถกันความร้อนได้ดีกว่าวัสดุประเภทโลหะ ที่มีคุณสมบัตินำความร้อน แต่หากเปรียบเทียบในด้าน คายความร้อน วัสดุเมทัลชีทจะสามารถคายความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้องครับ นั่นหมายถึงหลังจากพระอาทิตย์ตกดินลงไปแล้ว ความร้อนที่กำลังสะสมภายในบ้านจะถูกคายออกอย่างรวดเร็ว แต่หลังคากระเบื้องคอนกรีต มีคุณสมบัติอมความร้อน
3.ชายคาเมทัลชีท ออกแบบให้ยื่นยาวได้
การออกแบบหลังคารูปทรงไทย เช่น ปั้นหยา จั่ว โดยปกติจะออกแบบให้มีชายคายาวออกไปประมาณ 1 เมตร เหตุผลของการออกแบบ 1 เมตร นอกจากด้านดีไซน์แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับด้านโครงสร้างหลังคา เพราะหากยาวเกินกว่านั้นโครงสร้างหลังคาจะไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างเพิ่มเติมเพื่อมารองรับน้ำหนักหลังคาที่ยื่นยาวออกไป แต่หากเป็นวัสดุเมทัลชีทซึ่งมีน้ำหนักเบา ทำให้การออกแบบหลังคา

4.หลังคาเมทัลชีท รองรับองศาต่ำ
นอกจากชายคาแล้ว จุดที่เมทัลชีททำคะแนนได้ดีมากนั่นคือ สามารถออกแบบรูปทรงหลังคาต่ำได้ โดยปกติการใช้หลังคากระเบื้องจะออกแบบองศาความชันของหลังคาซีแพ็คประมาณ 25-40 องศา หรือหากเป็นหลังคาลอนคู่ สามารถออกแบบได้ต่ำลงมาอีกนิด โดยรองรับความชัน 15 องศา แต่นั่นก็ไม่สามารถเทียบกับหลังคาเมทัลชีทได้เลย เพราะสามารถรองรับความชันเพียง 4-5 องศาสำหรับรุ่นธรรมดา และต่ำสุด 2 องศา
5.หลังคาเมทัลชีท จบงานไว ประหยัดเวลาก่อสร้าง
ลองจินตนาการถึงงานปูกระเบื้องหลังคา แผ่นหลังคากระเบื้องมีขนาดเล็ก ช่างจะค่อย ๆ เรียงแผ่นกระเบื้องทีละแผ่นซ้อนทับกันกระทั่งจบงาน งานลักษณะนี้ต้องอาศัยความปราณีต ชำนาญ มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหารั่วซึมภายหลังได้ แต่หากเป็น บ้านเดี่ยว หลังคา เมทัลชีท ซึ่งมีขนาดใหญ่ เป็นแผ่นเดียวกันตลอดทั้งผืน เพียงแค่วางและติดตั้ง ใช้เวลาก่อสร้างไม่นานเลยครับ
6.หลังคาเมทัลชีท โค้งได้ตามใจชอบ
ด้วยกระบวนการผลิตเมทัลชีทซึ่งเป็นแผ่นเหล็กรีดลอน จึงสามารถรองรับกับการบิดงอได้ แตกต่างจากงานกระเบื้องคอนกรีต ที่ไม่สามารถดัดโค้งได้ คุณสมบัติข้อนี้ ทำให้เกิดวิวัฒนาการด้านดีไซน์ ก่อกำเนินงานสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ ๆ มากมาย
อ่านบทความเพิ่มเติ่ม