บ้านเมทัลชีท สนุกกับวัสดุและลูกเล่นสวยๆดูสะดุดตา

บ้านเมทัลชีท เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับทั้งงานภายใน และภายนอก งานผนัง งานรั้ว และงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัด ของเมทัลชีท คือสามารถสั่งผลิตตามขนาด ความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิด รอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึม จึงน้อยกว่าหลังคา กระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคา สามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้าง และค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี

บ้านเมทัลชีท 

แบบบ้านเมทัลชีทติดกระจก

บ้านในต่างประเทศนั้นใช้ เมทัลชีท เป็นวัสดุทำผนังหรือหลังคามานานแล้ว ในประเทศไทยเริ่มเห็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องด้วยคุณสมบัติที่ราคาไม่แพง การใช้งานที่ดัดแปลงได้หลากหลาย จะตัดให้พอดีกับพื้นที่ก็ง่าย นำมาให้ชมวันนี้ก็เป็นเมทัลชีทผิวเป็นลอน ใช้คู่กับกระจกและงานไม้ หน้าตาดูธรรมดาไม่น่าสนใจ

แต่การออกแบบทุกจุดคำนวนเรื่องฟังก์ชั่นการใช้งานมาอย่างดี เช่น ทิศทางรับแสง เพื่อให้มีความอุ่นในหน้าหนาว และช่องเปิดขนาดใหญ่ให้ระบายอากาศตามธรรมชาติได้ มีการเชื่อมต่อขอบเขตบ้านกับพื้นที่กลางแจ้ง และใช้ประโยชน์จากรูปร่างที่ดินรับวิวในมุมสูง

บ้านโมเดิร์นคอนเท็มโพรารี่ มีมุมรับแสง เปิดโปร่งรับลมชมวิว บ้านสองชั้นดูธรรมดาในย่าน Leschi ของเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ชื่อโปรเจ็คคือ Main Street House ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลาดชันที่ค่อย ๆ ไต่ระดับสูงจากด้านล่างถึงด้านบนประมาณ 6 เมตร

จึงให้ทัศนียภาพบางส่วนของ Lake Washington, Leschi Park และภูมิประเทศโดยรอบ การสร้างบ้านคำนึงถึงการเปิดรับวิวให้ได้หลายทิศทาง เช่น ทิศตะวันออกและทิศใต้ เพื่อให้ตัวบ้านมีส่วนร่วมกับภูมิประเทศ แม้เปลือกบ้านจะดูธรรมดาด้วยเมทัลชีท ไม้ และกระจกสไตล์ Modern contemporary แต่ฟังก์ชั่นการใช้งานไม่ธรรมดา บ้านแฝด 

บ้านเมทัลชีท 

ส่วนหน้าของบ้านจัดเป็นพื้นที่นั่งสบาย ๆ ในสวน เหมือนยกเอาห้องนั่งเล่นออกมาไว้กลางแจ้ง  ปูพื้นที่ใช้งานด้วยแผ่นคอนกรีตสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ บิวท์ม้านั่งคอนกรีตมีพนักพิงยาวเป็นรูปตัว L วางชุดโต๊ะมานั่งยาวแบบคล้ายที่คุ้นตาในห้องอาหารโรงเรียน ในวันที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศออกมาทานข้าวนอกบ้านก็ทำได้แค่เลื่อนบานประตู ยกอาหารที่ทำเองร้อน ๆ ออกมา

ผนังกระจกขนาดใหญ่ เชื่อมพื้นที่ภายในภายนอก

สิ่งที่เจ้าของบ้านต้องการคือ การจัดองค์ประกอบ ขององค์ประกอบของบ้านที่โฟกัสไปที่วิว และขยายพื้นที่ล้อม รอบสิ่งปลูกสร้างภายใน ออกไปสู่ภายนอก จึงใส่ช่องเปิดขนาดต่างๆ กันอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การติดตั้งผนังกระจกเป็นประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ สูงจากพื้นจรดเพดาน บริเวณห้องอาหาร เพื่อเชื่อมต่อออกไปยังลานกลางแจ้ง และตกแต่งในทำนอง เดียวกันกับผนังที่กว่าต่ำในห้องนั่งเล่น ก็เป็นประตูสไลด์ บานกระจกเปิดวิสัยทัศน์ ออกไปยังสวนสาธารณะได้ บ้านเดี่ยว

ตกแต่งภายในสวย ดูอบอุ่น

ช่องแสงต่างขนาด รับวิวในมุมที่ บ้านต้องการ ขนาดของช่องหน้าต่าง ประตู และกระจก ต่างขนาดกันในหลาย ๆ จุด ทุกจุดมีความหมายที่สถาปนิกคำนวนมาเป็นอย่างดีถึงทิศทางของ แสงธรรมชาติ การระบายอากาศ แบบพาสซีฟ และวิวรอบๆ ที่บ้านจะได้รับประโยชน์ อย่างเต็มที่ ชั้นล่างของตัวบ้านจึงดูโปร่งโล่งที่สุด สัมผัสได้ถึงความผ่อนคลาย พื้นที่ใช้งานจัดแบบ open plan รวมเอาส่วนใช้งานหลัก ๆ อย่าง มุมนั่งเล่น ห้องทานข้าง ครัว เข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่มีผนังกั้น ทำให้เข้าถึงแต่ละ ส่วนใช้งานได้อย่างลื่นไหล

ความเรียบง่ายของวัสดุ เส้นสายเรขาคณิตตาม แบบโมเดิร์น บางครั้งก็ดูจะแข็งกระด้างไปสักนิด แต่เมื่อมีเนื้อไม้เข้ามา แทรกอยู่ภายใน ก็เป็นตัวช่วยเบรกความแข็งเติมเนื้อ สัมผัสที่อบอุ่นเข้าไปในแบบ contemporary

สถาปนิกใส่ใจกับ การใช้งานของบ้านทุกฟังก์ชั่น ที่แม้แต่ในมุมครัวเล็ก ๆ ก็ต้องระบายอากาศได้ดี มองเห็นวิวภายนอกไม่ ขาดแสงธรรมชาติ ไม่ขาดการติดต่อกับโลกภายนอก และยังระบายอากาศ กลิ่น ควัน ลดความชื้นภายใน ด้วยการติดช่องแสง ช่องลมขนาดใหญ่มี ทั้งบานกระจกติดตาย บานกระทุ้ง และช่องแสงเหนือ ชั้นวางขนานไปกับผนัง บันไดขึ้นสู่ขั้นสองอยู่ระหว่างผนังแคบ ๆ แต่ดูไม่อึดอัด เพราะแต่ละขั้นมีลูกตั้งไม่สูง จึงไม่ปิดทางลม ทางแสง และเปิดมุมมอง ทางสายตาเชื่อมต่อกันได้

โซนห้องครัวเรียบหรุ

ห้องนอนเรียบง่าย ชวนให้พักผ่อนสไตล์ คอนเท็มโพรารี่ เน้นตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นหลัก ชั้นดาดฟ้า เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ โปรดของคู่เจ้าของบ้าน ที่ชอบใช้วันว่างที่ อากาศดีมานั่งชมวิว ในมุมสูง เพลินตาเพลินใจ ไปกับต้นไม้และทะเลสาบ อาบแสงแดดอ่อน ๆ ที่นาน ๆ จะมาสักครั้งในซีแอตเติล

ปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด

การนำมาใช้ร่วมกับ บ้านจึงจำเป็นต้องกำหนด สเปคให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งาน ที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย

ผนังกระจกโปร่งใสสวยๆ

1.ความหนาของเมทัลชีท มีผลกับคุณภาพ
แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่มีขายในประเทศไทย จะมีความหนาประมาณ 0.28 – 0.5 mm โดยประมาณ ซึ่งความหนาจะมีผลกับความแข็งแรง ยิ่งหนา ยิ่งดี แต่ไม่ควรใช้หนาเกินความจำเป็น เพราะช่างและผู้รับเหมาจะไม่สามารถหาสินค้าได้และทำงานลำบาก

เพราะแผ่นเมทัลชีทที่มีความหนาจะป้องกันการบุบยุบตัวได้มากกว่าแผ่นบาง และป้องกันเสียงจากฝนตกจะเสียงทุ้มกว่าแผ่นบางครับ โดยความหนาที่แนะนำสำหรับหลังคาหลักของบ้าน ควรหนาประมาณ 0.35 mm ขึ้นไป แต่หากเป็นสเปคที่สถาปนิกนิยมเลือกใช้ร่วมกับบ้านที่เน้นการออกแบบเป็นพิเศษ จะเลือกความหนาที่ 0.47 mm ขึ้นไป phuket property

ส่วนจุดอื่น ๆ เช่น หลังคาซักล้าง หลังคาครัวไทย หลังคาโรงจอดรถ เป็นส่วนที่ไม่มีผลกระทบกับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากนัก อาจเลือกรุ่นที่มีความหนา 0.3 mm ขึ้นไปเพื่อการลดต้นทุนได้ครับ ทั้งนี้ ความหนาของเมทัลชีทจะมีผลกับระยะแปหลังคา ยิ่งหนามากจะสามารถจัดวางแปในระยะห่างที่มากขึ้นได้ ช่างจึงควรตรวจเช็คความหนาของแผ่นเมทัลชีทให้มีความสัมพันธ์กับระยะแปหลังคา

2.เมทัลชีทเคลือบสี ช่วยให้บ้านเย็น ลดเสียงรบกวน
แผ่นเมทัลชีทที่ยังไม่ผ่านการเคลือบสีจะมีราคาถูกกว่า เหมาะกับการใช้งานอเนกประสงค์ อาทิ รั้วกั้นพื้นที่, หลังคาส่วนต่อเติม แต่หากนำมาใช้ร่วมกับหลังคาหลักของบ้าน แนะนำให้ควรเลือกชนิดที่ผ่านการเคลือบสีแล้ว เพราะสีที่เคลือบไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความสวยงามแต่ยังเป็นแผ่นกันความร้อนหลังคาได้ดี

โดยนวัตกรรมสียุคปัจจุบันมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ส่งผลให้ปริมาณความร้อนที่ทะลุผ่านหลังคาเมทัลชีทลดลงอย่างเห็นได้ชัดทำให้อุณหภูมิของบ้านเย็นกว่า สามารถประหยัดไฟจากเครื่องปรับอากาศได้

3.ฉนวนกันความร้อน เพื่อนแท้ของเมทัลชีท
ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เมทัลชีท คือ การติดตั้งเมทัลชีทโดยมีฉนวนกันความร้อน เพราะจะช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกทั้งแบบสำเร็จรูปติดตั้งมาให้พร้อมกับ แผ่นเมทัลชีท, แบบพ่นโฟม PU, แบบแผ่นวางใต้ฝ้าเพดาน หรือจะเลือกทำหลายอย่างพร้อมกันก็สามารถทำได้ บ้าน 

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่เพียงแค่ช่วยให้การอยู่อาศัยเย็นสบายขึ้น แต่ตัวฉนวนยังทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวนได้ดีอีกด้วย ลดทั้งความร้อน ลดทั้งเสียงรบกวน คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

4.หลังคาสูงโปร่ง มีฝ้าเพดาน
ตามหลักการถ่ายเทความร้อน มวลความร้อนจะ ลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงเสมอ หลักการนี้สถาปนิก นำมาใช้ร่วมกับการออกแบบบ้าน หากบ้านของเรามีพื้นที่โถงหลังคามากก็ จะช่วยกันความร้อนได้มาก โดยออกแบบ ให้ภายในบ้านมีฝ้าเพดาน เพื่อให้ใต้หลังคา มีพื้นที่ระบายอากาศ ฝ้าหลังคาจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันร้อน และกันเสียงได้อีกชั้น หากให้ดียิ่งขึ้นควรมีช่อง ระบายอากาศเพื่อส่งความร้อนที่สะสมบน ฝ้าถ่ายเทออกนอกบ้าน ป้องกันการนำความร้อนเข้าสู่ภายในบ้าน

การนำเมทัลชีทมาใช้งาน ร่วมกับบ้าน ส่วนใหญ่จะคุ้นตา กันในลักษณะหลังคาแบน หลังคาเพิงหมาแหงน แต่ในความเป็นจริงแล้วเมทัลชีทสามารถใช้งานร่วมกับรูปทรงหลังคาได้ทุกประเภท ทั้งจั่ว ปั้นหยา หลังคาโค้ง และอื่น ๆ ตามจินตนาการของผู้ออกแบบ ยิ่งออกแบบให้มีหลังคาสูงโปร่ง จะช่วยให้การระบายอากาศทำได้ดียิ่งขึ้น

บทความแนะนำ