บ้านโมเดิร์นบนเนินไต่ระดับ วิวสวยสูง ลมเย็นเป็นอิสระ

บ้านโมเดิร์นบนเนินไต่ระดับ บ้านเล่นระดับ หรือ Split-level house คือการออกแบบบ้านโดยใช้รูปแบบ การเล่นระดับของพื้นที่ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการออกแบบภายนอกและภายใน ส่วนมากการออกแบบบ้านเล่นระดับ จะใช้รูปแบบของบันไดมาเป็นตัวช่วย ในการสร้างสเต็ปของพื้นที่ โดยนิยมใช้ห้องนั่งเล่นเป็นพื้นที่หลัก และสร้างระดับไปสู่ห้องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องซักรีด เป็นต้น

บ้านเล่นระดับ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงปี 1950 และในปัจจุบันเทคนิคการตกแต่ง โดยใช้รูปแบบของ บ้านเล่นระดับก็ยังมีให้เห็นในงานออกแบบภาย ในอย่างแพร่หลาย เช่น การออกแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ที่จะมีการสร้างสเต็ปภายในบ้าน เพื่อแบ่งแยกพื้นที่การใช้งาน และทำให้ภายในบ้านดูมีมิติในการออกแบบที่น่าสนใจ

และถึงแม้ภายในประเทศไทย จะไม่ได้นิยมทำห้อง ใต้ดินเหมือนกับในต่างประเทศ แต่การออกแบบภายใน โดยใช้รูปแบบการออกแบบบ้านเล่นระดับ ก็สามารถนำมาปรับ ใช้ได้เช่นกัน เหมาะกับที่อยู่อาศัยประเภท บ้านชั้นเดียว ห้องที่มีพื้นที่ขนาดกลาง ไปถึงใหญ่ การแบ่งพื้นที่โดย ใช้เทคนิคนี้จะช่วยให้พื้นที่โดยรวมดูมี สัดส่วนที่ชัดเจน เป็นการแบ่งฟังก์ชัน อย่างเป็นสัดส่วนโดยไม่รู้สึกอึดอัด เพราะทั้งบ้านดูเชื่อมต่อ เป็นบริเวณเดียวกัน

บ้านโมเดิร์นบนเนินไต่ระดับ

แบบบ้านโมเดิร์น บนเนินสูงไต่ระดับ

ถ้าพูดถึงรีสอทร์ท เราเชื่อว่าเกือบทุกคนจะ นึกถึงที่พักสวยๆ ดีไซน์แปลก ๆ ที่จัดภูมิทัศน์มาอย่างดี ให้ผู้เข้าพักได้ชื่นชม ความสดชื่นของต้นไม้ ดอกไม้ ท้องฟ้า ภูเขา หรือน้ำตก น้ำทะเล ตามแต่สถานที่ตั้งนั้นๆ ด้วยบริบทรอบข้างที่คิด จัดวาง และศึกษามุมมอง มาอย่างดีทำให้คนที่แวะเวียน ไปอดที่จะอยากเก็บความทรงจำแสนสบาย เหล่านั้นเอาไว้ในบ้านไม่ได้ บ้านแฝด 

ซึ่งในบางนิยามบ้านสไตล์รีสอร์ท อาจไม่ได้หมายถึงการจัด สถานที่ให้เหมือนบ้านพักตากอากาศตาม สถานที่ธรรมชาติ แต่หมายถึงการจดจำบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรู้สึกสบาย และผ่อนคลายมากกว่า เหมือนบ้านหลังนี้ในเกาหลีที่ได้แรงบันดาลใจจากสิ่ง ที่ว่ามาเป็นโจทย์ใน การสร้างที่พักอาศัยในฝันเช่นกัน

หากใครเคยชมซีรีส์เกาหลี จะทราบดีว่าประะเทศนี้ ที่ราบมีค่อนข้างน้อย แม้กระทั่งในเมืองใหญ่ บ้านเรือนก็สร้างบนเนินสูง ที่ Hyeongyeong-dong ก็เป็นเชิงเขาทางใต้ของภูเขา Cheonmasan ใน Namyangju หลังจากการพัฒนาที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย ภูเขาเก่าแก่ และทุ่งนาถูกตัดออกไป จากนั้นความว่างเปล่าก็แทนที่ ด้วยบ้านเรือนมากมาย

ซึ่งบนจุดสูงสุดของถนนที่ คดเคี้ยวนี้มีที่ตั้งของ บ้านหลังหนึ่งที่มีลูกถึง 5 คน จึงต้องการพื้นที่ใช้สอยที่ ตอบการใช้งานของ ครอบครัวใหญ่ได้ดี ในขั้นต้นแผนคือการสร้างบ้าน บนที่ดินแปลงเดียว แต่เมื่อพิจารณาจาก องค์ประกอบของครอบครัวแล้ว ทำให้ตัดสินใจรวม และสร้างบ้านบนที่ดินสองแปลง

บ้านโมเดิร์นบนเนินไต่ระดับ

ไต่ระดับบนเนินที่ความสูงของดินไม่เท่ากันสักจุด และยังมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน

ความท้าทายของบ้านนี้ อยู่ที่ไซต์ ซึ่งนอกจากจะไต่ระดับ บนเนินที่ความสูงของดินไม่เท่ากันสักจุด และยังมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน มีทั้งส่วนโค้งมีหักมุม ทำให้กำหนด ขอบเขตได้ยาก แต่แม้ว่าสภาพแวดล้อม ของไซต์จะไม่แน่นอน สถาปนิกก็ สามารถแก้ปัญหาได้ โดยการศึกษาบริบทรอบด้าน แล้วกำหนดจุดที่จะไม่เปลี่ยนแปลง และใช้สิ่งนี้เป็นบริบท ในการวางตำแหน่งตัวบ้านหลัก แล้วค่อยๆ กระจายฟังก์ชันที่ เหลือออกไป  บ้านเดี่ยว

เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่ หนาแน่นมากนัก แต่ก็ถือว่ามีเพื่อนบ้าน และที่ดินรอบๆ อาจมีการสร้างบ้าน เพิ่มได้ในอนาคต จึงมีการจัดเรียงเพื่อให้มีช่องว่างระหว่างขอบเขตไซต์และไซต์ที่ อยู่ติดกัน และเนื่องจากเป็นหมู่บ้าน ที่ล้อมรอบด้วยทิวเขา ท้องฟ้าจึงเปิดกว้าง และสามารถมองเห็นวิว ทิศใต้ระหว่างบ้านได้ การที่บ้านเปิดบางจุด และปิดอย่างหลวมๆ เช่น ใส่ฟาซาดระแนงโปร่งๆ จะเป็นวิธีหนึ่งในการหลีกเลี่ยง การเผชิญหน้าที่น่าอึดอัด ใจกับบ้านใกล้เคียง และเป็นการสร้างความ สัมพันธ์เชิงพื้นที่ มากกว่าวิธีการปิดกำแพงสูงหรือรั้วโดยตรง

บ้านไล่ระดับ

“เราอยากให้บ้านของ เราเป็นเหมือนรีสอร์ท” คือโจทย์หลักของเจ้าของบ้าน เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ ในการอยู่อาศัย เนื่องจากก่อนย้ายมาที่นี่พวกเขาอาศัยในอพาร์ตเมนต์ ลองจินตนาการถึงครอบครัว ที่ประกอบด้วยคู่สามีภรรยา ลูกห้าคน และแมว แม้ที่อยู่จะมีขนาดไม่เล็ก แต่กล่องสี่เหลี่ยมจะ ทำหน้าที่ในการจัดวิธีการใช้ชีวิตให้กระจัด กระจายไปตามฟังก์ชันต่างๆ ในขณะที่พวกเขาเหนื่อยล้า อยากพัก Home

แต่องค์ประกอบของ บ้านบังคับครอบครัวให้ เคลื่อนไหวอย่างมีระเบียบเพื่อ “ประสิทธิภาพ” เมื่อเลือกที่จะออกไปพักผ่อน นอกบ้านแทน ก็พบว่าการไปเที่ยวกับครอบครัวใหญ่ ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงต้องการบ้านที่พวกเขา สามารถพักผ่อนและพบกับความสงบ สุขในชีวิตประจำวัน เป็นความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ที่ประกอบด้วยรูปแบบทางกายภาพ และทางจิตวิญญาณ ซึ่งจะช่วยลดความตึงเครียดระหว่างสมาชิก ในครอบครัวด้วย

บ้านตกแต่งสวย

แบบ open plan รวมห้องครัวขนาดใหญ่ ห้องนั่งเล่น โต๊ะทานข้าวไว้ด้วยกัน

สเปซ หรือพื้นที่ว่าง คือหัวใจหนึ่งของบ้านนี้ เพราะเราต่างรู้ดีว่าแม้จะใกล้ชิดกันแค่ไหน แต่ก็ควรมีระยะห่างระหว่าง กันให้ได้หายใจ มีมุมได้นั่งอยู่กับตัวเอง แต่ก็ยังสามารถ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และกันได้ นี่จึงเป็นที่มาของการจัดส่วนพื้นที่สาธารณะ ที่ใช้งานร่วมกันแบบ open plan รวมห้องครัวขนาดใหญ่ ห้องนั่งเล่น โต๊ะทานข้าวไว้ด้วยกันโดยไม่มีผนังกั้น ทำให้พื้นที่ทั้งหมดยืดหยุ่นและลื่นไหล สามารถเข้ามาใช้งานร่วมกัน ได้ทั้งหมดโดยไม่รู้สึกอึดอัด

บ้าน นี้จึงไม่ใช่พื้นที่รวมที่ เน้นประสิทธิภาพด้วย การวางห้องเรียงติด ๆ กันไป ไม่ใช่พื้นที่ปิดด้วย โครงสร้างผนังที่บังคับให้ คนต้องเดินตามเส้นทางที่กำหนด แต่เป็นแปลนแบบ เปิดที่เคลื่อนไหวได้ตามใจ

ห้องนั่งเล่นใช้วิธีการ ลดระดับลงไปเหมือนอยู่ในหลุม ซึ่งทำให้รู้สึกถึงความใกล้ชิดและอบอุ่น และสอดคล้องกับลักษณะ ที่ดินที่ไม่เท่ากัน ทุกชั้นของบ้านยังเต็มไปด้วยผนังกระจก ความใสช่วยเบลอเส้น ขอบระหว่างธรรมชาติ (กลางแจ้ง) และ พื้นที่ในร่ม ที่ทำให้บ้านดูโปร่ง เต็มไปด้วยแสงสว่าง สามารถมองเห็นวิวได้รอบด้าน และเป็นอิสระกว่าที่เคย รู้สึกได้ว่าใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

พื้นที่ที่ผ่อนคลายซึ่งใช้ สำหรับปลดปล่อยจิตใจ หรือลดบรรยากาศที่ตึงเครียดภายในครอบครัว จะสร้างช่องว่างสร้างเป็น คอร์ทยาร์ดแทรกตามจุดต่างๆ ของบ้าน แล้วใส่ผนังกระจก หรือ ประตูหน้าต่างที่สามารถมองเข้ามาเห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ของเวลาตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นห้องโถงใหญ่ข้างล่าง หอ้งน้ำ หรือห้องนอนที่จะถูก จัดวางให้มองเห็นทิวทัศน์ แสงแดด และความรู้สึกของพื้นที่ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนของบ้านก็รู้สึกเหมือนได้อยู่เป็นเพื่อนกับ ธรรมชาติอย่างใกล้ชิด

ห้องนอน

การสร้าง บ้านบนพื้นที่เนิน หลายเคสทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกกังวล เพราะอาจจะต้องเพิ่มงบประมาณ ในการปรับหน้าดิน หรือพื้นที่ราบที่มีน้อยทำให้เกรงว่าพื้นที่ใช้ประโยชน์ของอาคาร จะน้อยลงไปอีก แต่ปัจจุบันสถาปนิกหลายๆ คนจะเน้นสร้างบ้านให้เข้า กับสัญฐานเดิมของไซต์

แล้วดึงข้อด้อยให้กลาย เป็นจุดเด่น เช่น การยกตัวบ้านในจุดที่ต่ำด้วยเสาให้สูงขึ้นเท่าพื้นที่ราบ หรือการสร้างบ้านไต่ระดับ ตามความชันของเนิน ในส่วนที่ล่มต่ำก็ทำเป็นพื้นที่ลดระดับ แล้วทำบันไดไต่ระดับไปยังจุด ที่เป็นเนินสูงกว่า ซึ่งจะทำให้บ้าน มีความน่าสนุกขึ้น โดยไม่ฝืนธรรมชาติ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกจุด

ทำความรู้จัก บ้านเล่นระดับกัน

บ้านเล่นระดับเริ่มต้นจากไหน close บ้านเล่นระดับเกิดขึ้นในช่วงปี 1930  ในสหรัฐอเมริกาเพราะความต้องการ พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ในบ้านขนาดจำกัดจึงทำชั้นใต้ดินให้ครึ่งบนอยู่ เหนือพื้นดินและเจาะช่อง หน้าต่างเพื่อรับแสงสว่างจากภายนอกแล้วค่อย ไต่ระดับสู่แต่ละห้องทีละครึ่งชั้น จำนวนห้องจึงเพิ่มขึ้นใน ขนาดที่ดินเท่าเดิม เป็นการใช้พื้นที่ทางราบ และทางดิ่งอย่างคุ้มค่ามากที่สุด  phuket property

บ้านเล่นระดับกับเมืองไทย ถึงเมืองไทยจะไม่ นิยมทำชั้นใต้ดินเหมือนกับบ้านทางฝั่งอเมริกา แต่ก็นำการเล่นระดับนี้ มาช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้ สอยให้กับบ้าน ซึ่งประหยัดงบประมาณ ในการก่อสร้างมากกว่า บ้านปกติในจำนวนชั้นที่เท่ากัน และเป็นการแบ่งฟังก์ชัน อย่างเป็นสัดส่วน โดยไม่รู้สึกอึดอัดเพราะทั้งบ้านดูเชื่อมต่อ เป็นบริเวณเดียวกัน ระยะทางในการเดินขึ้น แต่ละชั้นก็ไม่ได้สูงมากเท่าบันไดบ้านปกติ นอกจากในเรื่อง การใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังสร้างมิติให้บ้านดูมีลูกเล่น สนุกสนานมากขึ้น

บทความแนะนำ