แบบบ้านคอนกรีต พื้นที่เล็ก ความสุขใหญ่

แบบบ้านคอนกรีต บ้านปูนสิ่งแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองคือบ้านที่สร้างด้วยระบบ เสา-คาน-พื้นก่อด้วยอิฐและฉาบปูนโครงสร้างหล่อจากคอนกรีตเสริมเหล็กและบ้านปูนเปลือยหรือ บ้านสไตล์ลอฟท์ บ้านที่โชว์โครงสร้าง และผนังปูนโดยไม่มี การนำวัสดุอื่นได้มาฉาบ ปิดทับตกแต่ง และบ้านปูนที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งเป็นระบบผนังรับน้ำหนัก ที่หล่อสำเร็จจากโรงงานนำมา ประกอบที่หน้าไซส์งาน

ปัจจุบัน การสร้างบ้าน มีระบบก่อสร้างที่หลากหลาย แต่ที่พบเห็นในประเทศไทยมากที่สุด คือบ้านปูนและบ้านไม้ โดยบ้านไม้ส่วนใหญ่ จะพบเห็นในชนบท ส่วนบ้านปูจะพบเห็นได้ทั่วไป ขณะที่ระบบก่อสร้างใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้ คือ บ้านปูนที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast และบ้านโครงสร้างเหล็กผสมปูน โดยระบบก่อสร้างที่แพร่หลาย ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ขณะนี้ คือ บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งจะพบเป็นได้ ในโครงการบ้านจัดสรรทั่วไป

แบบบ้านคอนกรีต

ไอเดียสร้างบ้านชั้นเดียวคอนกรีต

พื้นที่ส่วนรวม กับ พื้นที่ส่วนตัว หากสองพื้นที่ถูก จัดสรรอย่างไม่เหมาะสมหรือผสมปนเปไม่ได้สัดได้ส่วน แน่นอนว่าจะส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน เพราะพื้นฐานของ คนเราย่อมมีทั้งเวลา ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และต้องการเวลาที่ จะอยู่กับตัวเองด้วย บ้านคอนกรีตหลังนี้ ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ ทั้งสองส่วนนี้ดี จึงตั้งใจออกแบบบ้าน ชั้นเดียวให้แยกโซนจากกันอย่างชัดเจน โดยที่ยังเชื่อมโยง ถึงกันอย่างลื่นไหล

บ้านทรงกล่องหลังคาแบน วัสดุหลักคือคอนกรีตดิบ ๆ แข็ง ๆ และกระจกใสอันเบาบาง สองวัสดุที่มารวม ตัวกันแสดงออกถึงความเป็นหยิน-หยางที่สมดุล ผังของบ้านแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน โซนแรกคืออาคารด้านหน้า ที่เป็นพื้นที่โรงจอดรถ และพื้นที่สาธารณะ ของครอบครัว อาคารวางตามแนวความกว้างของที่ดิน เว้นระยะล่นด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อจัดสวนหย่อม สีเขียวเพิ่มความสดชื่น ตัวบ้านยกพื้นขึ้น สูงจากสวนเล็กน้อย พอให้ขับรถขึ้นได้โดยไม่ติดขัด และไม่เป็นอุปสรรคต่อ การถอยออกนอกบ้าน

ประตูทางเข้าของบ้านเชื่อมต่อ กับโรงจอดรถ ประตูไม้บานใหญ่ ที่ออกแบบให้ผลักออกแบบหมุนได้ เพื่อใช้เป็นทั้งทางเข้าออก และขณะเดียวกันก็เป็นผนังของบ้านไปในตัว ไม้สีน้ำตาลนอกจากดูแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความดิบของคอนกรีต ให้อ่อนโยนลงอีกระดับด้วย

แบบบ้านคอนกรีต

พื้นที่สาธารณะของบ้านอยู่โซนด้านหน้าสุด

ดีไซน์ภายในให้โปร่งโล่ง กว้างขวาง แบบ Open Plan เรียงลำดับการใช้งานเริ่มจาก มุมนั่งเล่น โต๊ะรับประทานอาหาร และครัว เน้นเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวที่สามารถเคลื่อนย้าย ได้ง่ายและประยุกต์ใช้ ได้อย่างยืดหยุ่น วันไหนที่มีแขกมาบ้านเยอะ แค่เลื่อนตำแหน่งโต๊ะเก้าอี้ ก็สามารถรองรับได้ อย่างสะดวกสบายในทันที

เมื่อเจอมุมนั่งเล่นแล้ว หากต้องการทำงาน ใช้สมาธิแค่เดินเลี้ยว ไปด้านขวามือ จะมีห้องสตูดิโอ แอบซ่อนอยู่ ระหว่างทางเดินเปิด กรอบผนังด้วยกระจกเต็มบาน ทำการบิลท์อิน ชั้นวางของรวมกับ ม้านั่งเพื่อเป็นจุดนั่ง พักอ่านหนังสือในระหว่างวัน ห้องทำงานขนาดเล็ก ที่ไม่ได้รู้สึกอัดอัด เพราะมีสวนหย่อมอยู่ด้านข้าง ผนังด้านหน้า และผนังด้านหลังเป็นกระจกใส ทำให้พื้นที่ภายในบ้านยิ่งดูกว้างขวาง และไม่คับแคบ

ส่วนที่สองของบ้าน คือ พื้นที่ของห้องนอนที่ ต้องการความเป็นส่วนตัวจัดผังไว้ในโซนด้านหลัง โดยเว้นคอร์ทตรง กลางระหว่างอาคาร เพื่อให้มีระยะห่างระหว่างกัน ให้สระว่ายน้ำ และสวนหย่อมเล็ก ๆ ค่อย ๆ ปรับอารมณ์จากความสนุกสนานไปสู่ความสงบ  บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด 

ห้องนั่งเล่นสวยๆ

ฝ้าโชว์ความดิบของคอนกรีต

ส่วนพื้นภายในบ้านโชว์ ความเงางาม ของปูนขัดมัน พื้นทางเดินที่เชื่อมต่ออาคารจึงเปลี่ยน ให้มีสีสันที่สดใส ขึ้นอีกนิด แต่ยังคงคอนเซปต์ที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ สีน้ำตาลเหลือง คล้ายดินเคลือบเงา ให้มีความเนี๊ยบและง่ายต่อการทำความสะอาด

ห้องนอนแสนสบาย เน้นความเรียบง่าย และสว่างมากกว่าห้องแฟมิลี่ ผนังห้องฉาบเรียบทาสีขาว เว้นไว้เฉพาะตรงฝ้าเพดาน ที่ยังคงอนุญาติให้ดิบได้ เพื่อให้ล้อกับพื้นห้อง ที่ดินจำกัดอาจขุดสระว่ายน้ำเล็ก ๆ ให้เล็กไปแช่ตัวได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถว่ายน้ำ หากต้องการให้ออกกำลังกาย ได้เหมือนสระใหญ่ อาจติดตั้งเครื่องว่ายทวนน้ำ แรงดันของน้ำที่ปล่อยออกมา ทำให้ว่ายน้ำในสระเล็ก ๆ ได้อย่างสนุกและเหนื่อย ไม่แพ้กับการว่ายไป กลับในสระขนาดใหญ่เลย

บ้านผนังกระจก

ทำไมบ้านปูนถึงเป็นที่นิยม

ความนิยม บ้านปูน ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบ้านปูน มีราคาถูก และแข็งแรงมากกว่า เมื่อเทียบกับบ้านไม้ นับวันราคามีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ


ขณะเดียวกันอายุ การใช้งานของบ้านปูน ไม่ว่าจะเป็นบ้านปูนที่ สร้างบนที่ดินของตัวเอง หรือบ้านปูนที่ซื้อจาก โครงการบ้านจัดสรร ที่ปัจจุบันนิยมก่อสร้างด้วยระบบ Precast นั้น ด้วยโครงสร้างอาคาร ที่สร้างมาจากปูนซีเมนต์ทำให้มีอายุการใช้งาน ที่ยาวนานไม่ต่ำกว่า 50 ปี บางหลังหากดูแล และรีโนเวทอยู่เป็นประจำก็มีอายุใช้งานนับ 100 ปี

ห้องครัวเรียบง่าย

ข้อดีของบ้านปูน

  • แบบบ้านปูนในปัจจุบัน มีให้เลือกจำนวนมาก เจ้าของบ้านสามารถออกแบบและตกแต่งได้ตามชอบ
  • ต้นทุนวัสดุก่อสร้างบ้านปูน ราคาไม่แพง แถมผลิตภัณฑ์และชนิดของปูนในท้องตลาดปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย
  • บ้านปูนสามารถปรับตัวกับ สภาพอากาศร้อน อากาศเย็น เช่น กลางวันในหน้าร้อนบ้านปูนจะอยู่เย็นสบาย เพราะปูนช่วยดูดซับความร้อน และในหน้าหนาวปูนจะ ป้องกันลมเข้าบ้านได้ดี ทำให้ภายในบ้านอบอุ่น
  • บ้านปูนเก็บเสียงได้ดี และยังป้องกันเสียงรบกวน จากภายนอกตัวบ้านได้ดีกว่าบ้านไม้ นอกจากนั้นบ้านปูน ป้องกันฝุ่นละออง ควัน และกลิ่นต่าง ๆไม่ให้เข้ามา รบกวนคนในบ้านได้ดี จัดสวนในพื้นที่บ้าน

ข้อด้อยของบ้านปูน

  • บ้านปูนมีความยืดหยุ่นน้อย ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว บ้านปูนจึงเกิดผนังแตกร้าวได้ง่ายกว่าบ้านไม้และบ้านโครงสร้างเหล็ก
  • บ้านปูนจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นอับ และเกิดปัญหาเชื้อรา บนผนังได้ง่าย โดยเฉพาะบ้านที่ไม่ได้ทาสี ป้องกันเชื้อราเพราะบ้านปูน ระบายอากาศได้ไม่ดีนัก
  • บ้านปูน หากได้รับการออกแบบไม่ดี หรือเลือกใช้โทนสีที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้บ้านดูมืดทึบอยู่แล้วอึดอัด
  • การเคลื่อนย้าย ปรับปรุง หรือต่อเติม บ้านปูนจะทำได้ ยากกว่าบ้านโครงสร้างเหล็กและบ้านไม้ โดยเฉพาะบ้านปูน ที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast ซึ่งนิยมใช้ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งหากต้องการต่อเติมห้องจะต้องมีวิศวกรคุมงาน ดูแลและให้คำปรึกษา หรือไม่ก็ต้องทุบทิ้งเพื่อสร้างใหม่

การดูแลรักษาบ้านปูน

สำหรับการดูแล รักษาบ้านปูนนั้น อย่างที่ทราบกันดีว่า บ้านปูนจะมีปัญหาในเรื่องของความอับชื้น ทำให้เกิดปัญหา การเกิดเชื้อราได้ง่าย ดังนั้น เจ้าของบ้านจึงต้องหมั่นเปิดประตู หน้าต่าง เพื่อช่วยในการระบายอากาศ และความชื้นภายในบ้าน ซึ่งจะลดปัญหาการเกิด เชื้อราคาบนผนังบ้าน แต่จะให้ดีเจ้าของบ้านควร ทาสีป้องกันเชื้อรา ซึ่งจะดีกว่าการเลือก ใช้วอลเปเปอร์เพราะในระยะยาวจะเสี่ยง กับการเกิดปัญหาเชื้อราได้  บ้าน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด 

การดูแลรักษาบ้านปูนเปลือย
ส่วน บ้านปูนเปลือย นั้น เนื่องจากต้องใช้ เทคนิคการฉาบผนังปูน ที่ใช้เทคนิคความชำนาญเฉพาะ ทางด้วยการฉาบปูน ไม่ให้เกิดรอยแตกลายงา และยังต้อง วางแผนระบบท่อ ร้อยสายไฟไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยที่ต้องไม่ลืมว่าจะต้องเคลือบน้ำ ยาเคลือบผิว และต้านการดูดซึมน้ำทุก ๆ 1-2 ปี เพื่อป้องความชื้น และคราบสกปรกต่าง ๆ ที่อาจจะซึมเข้าเนื้อ ซีเมนต์จนเกิดเป็นรอยด่างได้ Home

บทความแนะนำ