ไอเดียบ้านหลังคาจั่ว เติมพลังความอบอุ่นแก่ครอบครัว
ไอเดียบ้านหลังคาจั่ว บ้านหน้าจั่วสามเหลี่ยม เส้นไม้เรียบง่ายที่ไม่อาจละสายตา สไตล์ญี่ปุ่น บ้านแบบญี่ปุ่นสไตล์โมเดิร์น ยังคงเป็นรูปแบบหนึ่งที่ผู้คนชื่นชอบ อาจจะด้วยความเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความสงบผ่อนคลาย จึงมีการหยิบยืมมาใส่ลงในบ้าน หรือคาเฟ่ให้เห็นกันเรื่อย ๆ สำหรับอาคารที่เราจะพาไปชมวันนี้เป็นร้านกาแฟ และบ้านที่สร้างขึ้นในบริเวณ วัดในญี่ปุ่น คาเฟ่จะตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ และบ้านตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือ phuket property

โดยทางเข้าบ้านอยู่ ทางทิศตะวันตก พื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุม ด้วยหลังคาขนาดใหญ่รองรับกล่อง สีขาวห้ากล่องที่มีห้องน้ำ และห้องส่วนตัว แต่ถ้ามองจากถนนจะเห็นเพียง บ้านหลังคาจั่วแหลม ตกแต่งบ้านที่ยืน เด่นอยู่บนเนิน
หากใครผ่านไปผ่านมา ต้องสะดุดตากับ บ้านหลังนี้ ในจังหวัดชิซึโอกะ ซึ่งนำเสนอเอกลักษณ์เฉพาะตัว สไตล์มินิมอล ได้อย่างลงตัว ด้วยเส้นสายตรงไป ตรงมา ผิวผนังไม้ดูอบอุ่น สะอาดหมดจด รายละเอียดของบ้านทั้งดีไซน์ องค์ประกอบ สี และวัสดุที่มีไม่กี่อย่าง แต่ทุกอย่างในภาพรวม กลับคมชัดแบบโมเดิร์นมินิมอล ในขณะเดียวกันไม้สีอ่อน ๆ และหลังคาทรงจั่วที่ตกแต่งไม้กว่าครึ่งพื้นที่ด้านหน้าบ้าน ทำให้ได้กลิ่นอายความ เป็นวัดญี่ปุ่นที่ถูกประยุกต์ให้ทันสมมัยขึ้น บ้านเดี่ยว

หลังคาจั่วปกป้องตัวอาคารจากสภาพอากาศทั้งแดด และฝนได้ดี
อาคารหลังคาจั่วมีชาย คาขนาดใหญ่ที่ช่วย ปกป้องตัวอาคารจากสภาพอากาศทั้งแดดและฝน แต่สถาปนิกไม่ได้ปิด ตัวอาคารทั้งหมดจากแสง เห็นได้จากผนังบ้าน ที่ใช้วัสดุกระจกใส รอบด้าน เพื่อให้สามารถรับความสว่างเข้าสู่ภายในได้ตามธรรมชาติ พร้อมกันนี้ยัง เป็นการเปิดวิสัยทัศน์ ให้บ้านเชื่อมต่อกับสวนเขียวๆ ต้นไม้ บ้านโบราณรอบ ๆ ได้ดี
เป็นที่รู้กันดีว่างานไม้ ของประเทศญี่ปุ่นขึ่น ชื่อลือชาเรื่องความพิถีพิถัน ประณีตบรรจง บ้านบางหลังเป็นงานทำมือ ใช้อุปกรณ์ธรรมดา อย่างเช่น ค้อน สิ่ว กบไสไม้ แถมยังค่อย ๆ ตอกลิ่มทำเดือยประกอบ เข้าเป็นตัวบ้านโดยไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว แม้ทุกวันนี้โลกจะก้าวหน้า ไปอย่างมาก แต่บ้านยุคใหม่ก็ยังนิยมใช้งาน ไม้ทั้งภายใน-ภายนอก อย่างบ้านนี้ นอกจากผนังหน้าบ้านยังใช้ไม้กรุ ฝ้าชายคา ฝ้าในบ้าน คาน รวมไปถึงพื้นบ้านด้วย

นอกจากใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ที่นี่ยังเป็นคาเฟ่ด้วย จึงพยายามสร้างความเป็นกันเอง ภายใต้คอนเซ็ปท์มินิมอล และความเป็นธรรมชาติ ด้วยการมีพื้นที่ทำสวนเล็ก ๆ ลงในตัวอาคาร มีสเปซโล่งกว้างทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ผนังกระจกใส เปิดรับแสงสว่าง รอบทิศทางเพิ่ม ความมีชีวิตชีวา สีที่ใช้ในการตกแต่งเป็นสีอ่อนๆ ไม่ปรุงแต่ง เช่น สีเทาของปูนเปลือย สีธรรมชาติของไม้แต่ละชนิด สีขาวที่ทาผนัง เป็นต้น ทำให้มีความสมดุล และความผ่อนคลาย
ลักษณะเด่นของ บ้านญี่ปุ่นสมัยคือ หน้าต่างขนาดใหญ่ ที่เต็มไปด้วยกระจก อาจเป็นเพราะญี่ปุ่น มีช่วงฤดูหนาวที่หนาว จัดจึงต้องการความ อบอุ่นภายในมากมากกว่าบ้านเรา หากเจ้าของบ้านในไทย ต้องการนำมาประยุกต์ใช้ อาจจะใช้กระจก เทมเปอร์ กระจกลามินตที่มี ความทนทาน มากกว่ากระจกธรรมดา หรือเลือกใช้กระจกที่มี คุณสมบัติตัดแสง สะท้อนแสงก็จะช่วยให้บ้านสว่างแต่ไม่เพิ่มความร้อน ภายในบ้านมากเท่าที่คิด บ้านเดี่ยว

แบบบ้านหลังคาจั่วสีดำ แค่สีเดียวก็สะดุดตา อย่างมีรสนิยม
บ้านหลังนี้มีสองด้าน ด้านหน้าเป็นอาคารเก่า ทำจากอิฐในยุคทศวรรษที่ 1940 อยู่ในเวสต์เมียร์ ออกแลนด์ เมืองในเกาะเหนือ ประเทศนิวซีแลนด์ ตัวบ้านเคยต่อเติมโรงรถ และห้องนอนด้านบนในปี 2552 ซึ่งไม่ได้ทำอะไรมาก ต่อมาในปี 2564 เจ้าของบ้านพร้อมลูกสาวสาม คนต้องการรูปลักษณ์บ้านใหม่ที่กลมกลืน และทันสมัย
พร้อมพื้นที่ที่มากขึ้น และเชื่อมต่อกับสระว่ายน้ำ และสวนได้ดี ผลลัพธ์ที่ได้คือบ้านที่มองจากด้านหน้า เหมือนถูกแบ่งเป็น ในสามระดับ คือ ถนนเนินทางเดินรถ และตัวบ้านหลังคา โรงนาสูงตระหง่าน ซึ่งภายนอกปรับ เปลี่ยนวัสดุผนังเป็นไม้ Abodo Vulcan ในสีดำสนิท เพิ่มเส้นสายคมเฉียบ สะอาดให้บ้าน ในขณะเดียวกันก็ให้ ความเป็นส่วนตัว
การเลือกใช้ไม้ Abodo เป็นวัสดุภายนอก ช่วยลดความยุ่งยาก ในการบำรุงรักษา เนื่องจากเป็นชนิดไม้ ที่ผ่านกระบวน การดัดแปลง ด้วยความร้อน ซึ่งเพิ่มความทนทาน และความเสถียรของผลิตภัณฑ์ นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานภายนอก ซึ่งอาจถูกทำร้ายจาก สภาพอากาศที่แตกต่างกันมากมายทั่ว ทั้งนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตาม

เนื่องจากไม้สามารถบิดงอ และโก่งได้ง่ายตามอุณหภูมิ ที่เปลี่ยนแปลงจึงเพิ่มนวัตกรรม Nero Protector Oil โดยใช้อนุภาคขนาดเล็ก จะแทรกซึมลึกเข้าไปในเนื้อไม้ ในขณะที่อนุภาคขนาดใหญ่ กว่าจะอยู่ใกล้พื้นผิว ซึ่งควบคู่ไปกับกระบวนการดัดแปลง ด้วยความร้อน ช่วยเพิ่มอายุ การใช้และคุณสมบัติที่ดีไปพร้อมๆ กัน บ้านแฝด
จากหน้าบ้าน นอกจากจะสามารถเข้าสู่ตัวบ้านผ่านโรงรถได้แล้ว ยังมีบันไดทางเดินด้านข้างนำขึ้นสู่ตัวอาคารด้วย เมื่อเข้ามาจะพบกับพื้นที่ใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยสีขาวตัดกับเส้นสายสีดำ มีแสงธรรมชาติส่องเข้ามาทางช่องสกายไลท์และช่องว่างสูงสองเท่า ทำให้บ้านดูมีชีวิตชีวาไม่มืดทึบเหมือนภาพที่ปรากฎภายนอก
ชั้นใต้หลังคาเป็นห้องนั่งเล่น และอ่นานหลังสือสำหรับเด็ก รูปแบบฝ้าเป็น lean to เอียงตามแนวหลังคาไป ซึ่งทำให้บ้านมีพื้นที่ใช้งานในแนวตั้งมากขึ้นอีกนิด ในส่วนนี้รวมไปถึงห้องนอน ยังคง Concept การตกแต่งในโทนสีดำ เทา ขาว (Monochome) ที่ดูเรียบ ง่าย สงบ แต่ไม่มีวันตกเทรนด์

ห้อง Family ที่ครบพร้อมฟังก์ชันนั่งเล่นพักผ่อน
จากส่วนหน้าค่อย ๆ ขยับมาที่ส่วนหลัง ซึ่งจะเป็นพื้นที่ใหม่ สำหรับใช้ชีวิตส่วนรวม มีห้อง Family ที่ครบพร้อมฟังก์ชัน นั่งเล่นพักผ่อนดูทีวี พร้อมโซฟาตัวใหญ่ โต๊ะทานอาหารขนาด 6 ที่นั่ง และครัวแบบเปิดที่สามารถ รองรับการใช้งานของสมาชิกในบ้าน ได้ทุกคนแบบสบาย ๆ สถาปนิกติดตั้งประตูและหน้าต่างกระจกใสที่เปิดออก สู่เฉลียงบ้านก่อนเลยลง ไปยังสระว่ายน้ำขนาดกะทัดรัด เป็นการเติมความลื่นไหล ระหว่างภายในภายนอก ในแบบที่ทุกคนต้องการ บ้านจัดสรร
การใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น เมื่อเปิดประตูก็ออกมา ยังสนามหญ้า และสระว่ายน้ำ ทำให้เด็ก ๆ สนุกสนานกับการวิ่งเล่น และว่ายน้ำในวันที่อากาศดี สร้างบรรยากาศ ให้บ้านสดชื่นเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ หากมองจากภาพรวมจะเห็นว่า หน้าตาของบ้านในด้านนี้จะต่างออกไป คือเป็นหลังคาจั่วแบบอสมมาตร ซึ่งดูราวกับเป็นหลังคาแยกส่วน แต่จริง ๆ แล้วถ้ามองจากด้านบนจะเห็นความต่อเนื่อง โดยสถาปนิกทำการรื้อหลังคา ออกแล้วคลุมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้มีความเชื่อมต่อเป็นผืนเดียว
หลังคาบ้านมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาแบน ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดี และข้อเสียต่างกัน อีกทั้งยังมีความเหมาะสมกับ สภาพภูมิอากาศเฉพาะท้องถิ่น อย่างบ้านในไทยจะเหมาะกับหลังคาจั่ว หลังคาเพิงหมาแหงน ที่ระบายความร้อน และน้ำฝนได้ดี
ส่วนบ้านเขตหนาวที่มีหิมะก็มัก จะทำทรงจั่วสูงไม่มีชายคา วัสดุแข็งแรง เพื่อให้หิมะไหลลงได้เร็ว แต่ไม่เหมาะกับบ้านเขตร้อน ชื้นที่ฝนอาจจะสาดจนผนังเสียหาย หากจะนำมาใช้งานควรปรับ ประยุกต์ให้สอดคล้อง กับสภาพอากาศ เลือกวัสดุปิดผิวผนัง และสีทาภายนอกที่ทนทานแดด ฝนเป็นพิเศษ